“โนโมโฟเบีย” โรคขาดมือถือไม่ได้

“โนโมโฟเบีย” โรคขาดมือถือไม่ได้

“โนโมโฟเบีย” โรคขาดมือถือไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แทบจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนในยุคนี้ไปอย่างถาวรแล้ว เพราะว่ามันสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก และยังเข้าถึงความบันเทิงได้ทุกรูปแบบทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้หลายคนมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายเสพติดมือถือ หรือรู้สึกว่ามือถือได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ถึงขนาดที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

โดยอาการดังกล่าว เรียกกันว่า “โนโมโฟเปีย” ซึ่งมาจากคำว่า “No Mobile Phone Phobia” เป็นศัพท์ที่หน่วยงายวิจัยทางการตลาดขนาดใหญ่ (YouGov) บัญญัติขึ้นเมื่อปี 2010 เพื่อใช้เรียกอาการวิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือ และอาการนี้กำลังถูกเสนอจัดให้เป็น โรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล

โนโมโฟเบีย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

  • นิ้วล็อก เกิดจากการใช้นิ้วมือกดหน้าจอติดต่อกันนานเกินไป ถ้ารู้สึกว่ากำนิ้วมือแล้วเหยียดนิ้วไม่ได้ นั่นคือสัญญาณเตือนว่าควรรีบไปพบแพทย์
  • ตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง เกิดจากการเพ่งสายตาจ้องหน้าจอที่มีแสงจ้านานเกินไป โดยอันตรายจากการมองแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์นั้น อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม หรือจอประสาทตาเสื่อมได้
  • ปวดเมื่อยคอ บ่าไหล่ เพราะเวลาใช้งานโทรศัพท์ ส่วนใหญ่จะก้มหน้าและค้อมตัวลง ทำให้เกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว และถ้าเล่นนานๆ จะปวดศีรษะตามมา
  • ปัญหาสมาธิสั้น โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากอยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาสมาธิ จึงแนะนำว่าไม่ควรเล่นมากเกินไป เพราะนอกจากนี้อาจจะส่งผลให้เด็กหลายคน มีอารมณ์ร้อน ก้าวร้าว และขี้หงุดหงิดมากขึ้นอีกด้วย

ลองเช็กตัวเองดูถ้าใครมีอาการเหล่านี้ แสดงว่าเข้าข่ายกลัวการขาดมือถือ

  • พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา
  • ต้องคอยคลำกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้างๆ ตัวหรือไม่
  • หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้ายๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็กข้อความก่อน
  • เมื่อตื่นนอนรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กข้อความ หรือก่อนนอนเล่นโทรศัพท์จนกระทั่งหลับ
  • ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า
  • หากใครลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน ชั่วโมงแรกที่รู้ตัวว่าลืมโทรศัพท์จะรู้สึกมีความกังวลใจมาก หรือหาโทรศัพท์ไม่เจอจะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมาก
  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
  • ใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าคุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ตรงหน้า
  • ห้ามใจไม่ให้เล่นโทรศัพท์ภายใน 1 ชั่วโมงไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook