สุริยุปราคา คืออะไร และมีชนิด มาทำความรู้จักปรากฏการทางธรรมชาติอันสวยงาม

สุริยุปราคา คืออะไร และมีชนิด มาทำความรู้จักปรากฏการทางธรรมชาติอันสวยงาม

สุริยุปราคา คืออะไร และมีชนิด มาทำความรู้จักปรากฏการทางธรรมชาติอันสวยงาม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สุริยุปราคา” หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์

ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น

 78692553_2777788152284781_379

สุริยุปราคา มี 4 ชนิดคือ

  1. สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เป็นสุริยุปราคาประเภทที่ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์เล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงจันทร์ ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดทั้งดวง
  2. สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Eclipse) เป็นสุริยุปราคาประเภทที่ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์มีลักษณะคล้ายวงแหวน
  3. สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เป็นสุริยุปราคาประเภทที่ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นเสี้ยว
  4. สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse) ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า

สุริยุปราคา เกิดขึ้นกี่ครั้งในแต่ละปี

วงโคจรของดวงจันทร์ตัดกับสุริยวิถี 2 จุด ซึ่งห่างกัน 180 องศา ดังนั้น ดวงจันทร์ในวันจันทร์ดับจะอยู่บริเวณจุดนี้ปีละ 2 ช่วง ห่างกัน 6 เดือน ทำให้เกิดสุริยุปราคาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง บางครั้งเกิดจันทร์ดับ 2 ครั้งติดกันใกล้ ๆ กับจุดโหนด ส่งผลให้บางปีสามารถเกิดสุริยุปราคาได้มากถึง 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เงามืดของดวงจันทร์มักจะทอดเลยออกไปทางเหนือหรือใต้ของโลกโดยไม่สัมผัสผิวโลก จึงเกิดเป็นสุริยุปราคาบางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ เงามืดอาจสัมผัสผิวโลกในที่ห่างไกลบริเวณใกล้ขั้วโลกอย่างอาร์กติก และทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งยากต่อการเดินทางไปสังเกตการณ์

สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในเวลาสั้น ๆ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน ทำให้เงามืดที่ตกบริเวณโลกเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากตะวันตกไปตะวันออกในระยะเวลาสั้น ๆ

หากสุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ใกล้ตำแหน่ง perigee มาก ๆ จะทำให้สุริยุปราคาเต็มดวงสามารถสังเกตได้ในบริเวณกว้าง ประมาณ 250 กิโลเมตร และเวลาในการเกิดนั้นอาจนานประมาณ 7 นาที

สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดจากเงามัวของดวงจันทร์นั้นสามารถเกิดได้ในบริเวณกว้างกว่าสุริยุปราคาเต็มดวงมาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook