ในฐานะของคนทั่วไป เราจะรับมือกับ “ข่าวปลอม” อย่างไร
ไม่เพียงแต่บุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางอย่าง หนังสือพิมพ์ หรือ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล เท่านั้นที่กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายครั้งใหญ่ในด้านของปริมาณและความซับซ้อนของข้อมูลที่ทวีคูณขึ้น
ข้อมูลที่เป็นเท็จ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งน่าตื่นเต้นเพราะสามารถดึงดูดความสนใจจากเราได้ ถ่ายทอดภายใต้หน้ากากการรายงานข่าว ทั้งโฆษณาชวนเชื่อทางอุดมการณ์ หรือความรีบร้อนของสำนักที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด โดยจากการวิเคราะห์ปรากฏว่าการบิดเบือนข้อมูลเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ รูปแบบ ดังนี้
- การใช้รูปภาพหรือวิดีโอในทางที่ทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับคนในภาพ
- การสร้างบัญชีปลอมบนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อการทำลายชื่อเสียงของบุคคล
- สร้างและควบคุมเว็บไซต์ปลอมหรือเลียนแบบ โดยทำให้คล้ายกับของจริงเพื่อสร้างความสับสน
- สร้างข้อมูลเท็จและแพร่สะพัดออกไป
- ใช้ Bot ในการแพร่กระจาย
คำถามคือ เราจะปกป้องตัวเองจากข่าวเท็จได้อย่างไรในเมื่อเราไม่ใช่นักวิเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล
คำแนะนำต่อไปนี้ คือข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณไม่หลงกล ข่าวลวง อีกต่อไป
ตรวจสอบรูปแบบของข่าวนั้น ๆ
ขั้นแรกคือการสังเกตถึงความเหมาะสม จากทั้งเนื้อหาภายในข่าวและจากบุคคลที่นำมาแชร์ ดูให้แน่ชัดว่ามันมาจากเว็บไซต์สำนักข่าวที่เรารู้จักหรือไม่ เพราะว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์คือตัวกลางที่ทำให้ข่าวสารประเภทใดก็ตามแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หากไม่สังเกตอย่างละเอียด
หาข้อมูลของผู้เขียน
ตรวจสอบว่าผู้เขียนหรือผู้เผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อหรือเป็นที่รู้จักอยู่แล้วหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศษ Le Monde เสนอข้อสันนิษฐานว่า หากข้อมูลนั้น ๆ มาจากบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จัก มีแนวโน้มที่ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นข่าวลวง ข่าวปลอม หรือบิดเบือนได้
ค้นหาข้อมูลอ้างอิงของข่าว
ก่อนที่จะปักใจเชื่อและเผยแพร่ข้อมูลชิ้นนั้นต่อ ตรวจสอบก่อนว่าผู้เขียนมีแหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิงในเนื้อหาของข่าวนั้น ๆ หรือไม่ เพราะแหล่งอ้างอิงถือเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบความจริงเท็จของข้อมูลนั้นได้อย่างดี
ตรวจสอบซ้ำกับแหล่งข่าวอื่น ๆ
ตรวจทานถึงข้อมูลดังกล่าวว่ามีการปรากฏในแหล่งข่าวสำนักอื่น ๆ หรือไม่ หากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เผยแพร่ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันด้วยตัวเนื้อหา หมายความว่ามีโอกาสสูงที่ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นความจริง ในทางกลับกันหากข้อมูลนั้น ๆ ไม่ปรากฏในแหล่งข่าวอื่น ๆ หรือตรวจสอบไม่พบเนื้อหาในทิศทางเดียวกัน เป็นไปได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นเท็จ
ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้
มีบุคลากรและผู้ทำงานเกี่ยวกับสื่อมากมายที่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่น จากสื่อดั้งเดิมอย่าง วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลอดภัยที่สุดต่อข่าวปลอมต่างจากอินเทอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและพยายาม
กำจัดข้อมูลเท็จอยู่เช่นกัน
ในปัจจุบันข้อมูลต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและแยกแยะความจริงกับสิ่งเท็จไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป จนบางครั้งข้อมูลที่มหาศาลเหล่านั้นยังทำให้สื่อมืออาชีพหลงเชื่อและเผยแพร่ต่อได้ ดังนั้นในฐานะคนทั่วไปอย่างเราควรจดจำไว้ว่าต้องมีวิจารณญาณเสมอในการรับข่าวสารต่าง ๆ อย่าเชื่อเพียงแค่พาดหัว ตรวจสอบให้ลึกถึงเนื้อหาและอ้างอิงด้วย