2 นักเรียนชั้นป.5 ชนะเลิศการประกวดโครงงาน “ความยาวช่วงแขน=ความสูง จริงหรือ?”

2 นักเรียนชั้นป.5 ชนะเลิศการประกวดโครงงาน “ความยาวช่วงแขน=ความสูง จริงหรือ?”

2 นักเรียนชั้นป.5 ชนะเลิศการประกวดโครงงาน “ความยาวช่วงแขน=ความสูง จริงหรือ?”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

2 เด็กหญิงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากเมืองอามาคุสะ จังหวัดคุมาโมโต้ ชนะเลิศการประกวดโครงงานค้นคว้าอิสระ ในหัวข้อ “ความยาวของช่วงแขนทั้งสองข้าง เท่ากับความสูง จริงหรือไม่?” ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าชิงรางวัลมากกว่า 10,000 ผลงานจากทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น

โดยผู้ริเริ่มค้นคว้าข้อสงสัยแสนธรรมดาที่ว่า “ความยาวช่วงแขน เท่ากับความสูง จริงหรือ?” คือ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนประถมประจำเมืองอามาคุสะ “Amakusa Shiritsu Hondokita” ได้แก่ เด็กหญิง โอคาเบะ ฟุมิกะ (11 ปี) และ เด็กหญิง มัตสึโมโตะ โนอะ (11 ปี) โดยทั้งสองได้ร่วมกันทำโครงงานค้นคว้าอิสระในหัวข้อ “ใครกัน! ที่จะมีความยาวช่วงแขนและความสูงเท่ากัน ~มาเปรียบเทียบความสูงกับความยาวช่วงแขนกันเถอะ” ซึ่งได้มีการเก็บข้อมูลของคน 141 คน ที่มีช่วงอายุแตกต่างกันออกไปตั้งแต่วัยทารกจนถึงอายุ 60 ปี ก่อนนำมาวิเคราะห์และได้ผลลัพธ์ว่า ส่วนสูงของเด็กช่วงวัยอนุบาลจะมีความยาวมากกว่าความยาวของช่วงแขน และยิ่งเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่มากเท่าไหร่ ความยาวช่วงแขนก็จะยาวมากกว่าส่วนสูงขึ้นเรื่อย ๆ

0020

ผลงานการค้นคว้าดังกล่าว ถูกส่งเข้าชิงรางวัล “การประกวดโครงงานค้นคว้าอิสระ ด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ” การแข่งขันโครงงานความรู้ที่มีเด็กนักเรียนชั้นประถม มัธยมต้น และมัธยมปลายจากทั่วประเทศญี่ปุ่นร่วมส่งประกวด จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลงานของ 2 นักเรียนหญิงเป็นเพียงผลงานเดียวจากตัวแทนทั้งจังหวัดคุมาโมโต้ที่ได้รับรางวัลพิเศษจากคณะกรรมการประจำปีนี้ไปครอง อย่างไรก็ตาม ในการประกวดที่แข่งขันกันด้วยเนื้อหารายงานและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และการคำนวณที่สอดคล้องกับข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในสังคมและชีวิตประจำวันในครั้งนี้ มีผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดเพียง 14 ผลงาน จากทั้งหมด 17,821 ผลงานที่ส่งเข้าชิงรางวัลจากทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ 2 นักเรียนหญิงชั้นป.5 ยังได้ขึ้นบรรยายเนื้อหาการค้นคว้าต่อหน้านักเรียนทั้งโรงเรียนในงาน “Kitakko no Tsudou” ที่จัดขึ้นในโรงเรียนประถมประจำเมืองอามาคุสะ โดยหลังจากการบรรยายจบลง ทั้งคู่ได้บอกเล่าความรู้สึกในการทำโครงงานนี้ว่า “ถึงแม้จะลำบากในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ก็รู้สึกดีใจมากที่ผลงานนี้สามารถคว้ารางวัลระดับประเทศได้ค่ะ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook