"การตั้งพรรคการเมือง" ต้องเตรียมตัวอย่างไร มีขึ้นตอนอะไรบ้าง มาดูกัน
"พรรคการเมือง” หมายความว่า กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่สอดคล้องกันมารวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ
การจดทะเบียนพรรคการเมือง
การจดทะเบียนพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550
ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (มาตรา 8)
- มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
ต้องจัดให้มีการประชุมจัดตั้งพรรคการเมืองก่อนยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง ดังนี้
- ต้องมีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 15 คน (มาตรา 8)
- กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การกำหนดนโยบายพรรคการเมือง
- การกำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง
- การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองประกอบด้วย
- หัวหน้าพรรคการเมือง
- รองหัวหน้าพรรคการเมือง
- เลขาธิการพรรคการเมือง
- รองเลขาธิการพรรคการเมือง
- เหรัญญิกพรรคการเมือง
- นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง
- โฆษกพรรคการเมือง
- กรรมการบริหารอื่นซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (13) และ (14) ของรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้ (มาตรา 12)
- นโยบายพรรคการเมือง
- ข้อบังคับพรรคการเมือง
- บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ทำการพรรคการเมือง ซึ่งต้องอยู่ในราชอาณาจักร
สำเนารายงานการประชุมตั้งพรรคการเมืองการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
- ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง
- ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง
- ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง
- ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
- ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของกรรมการบริหารพรรคการเมือง
เมื่อได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องพิจารณาตรวจสอบ ในเรื่องดังต่อไปนี้
- ผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน
- ชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมืองมีลักษณะและความมุ่งหมายที่ไม่ขัดต่อมาตรา 9
- เอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองมีรายการครบถ้วนและถูกต้อง
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองถูกต้องและครบถ้วน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
- ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีรายการใดไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
การสั่งการของนายทะเบียนพรรคการเมือง
- ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้อง และครบถ้วนจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง และประกาศการจัดตั้งพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา และให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้ง การจัดตั้งแล้วเป็นนิติบุคคล (มาตรา 14 วรรคสอง มาตรา 18 และมาตรา 19)
- ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคุณสมบัติหรือ จำนวนของผู้จัดตั้งพรรคการเมือง หรือนโยบายพรรค และข้อบังคับพรรค หรือคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารพรรค หรือชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นายทะเบียน พรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้ง เหตุผลให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา 14 วรรคสาม)
- ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า เอกสารการขอจัดตั้งพรรคการเมือง มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ชัดเจน หรือบกพร่อง จะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งทราบภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการแก้ไข หากผู้ขอจัดตั้ง พรรคการเมือง แก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาก็จะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ถ้าผู้ขอจัดตั้ง พรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขหรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 7 วัน (มาตรา 15)
- ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งมีชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง ซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน และยื่นคำขอ จัดตั้งพรรคการเมืองในวันเดียวกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง ทำความตกลงกันว่าผู้ใด จะเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อ พรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น เมื่อได้ตกลงกันประการใดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมือง จะรับจดแจ้งการจัดตั้ง พรรคการเมืองตามที่ได้ตกลงกัน (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง) (1)
- ในกรณีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องยืนยันไม่ยอมตกลงกันหรือยังตกลงกันไม่ได้ นายทะเบียนพรรคการเมือง จะพิจารณา รับจดแจ้ง การจัดตั้งพรรคการเมือง จากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เห็นว่า มีสิทธิที่จะใช้ชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมาย พรรคการเมืองนั้นดีกว่า โดยพิจารณา ดังนี้ (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง) (2)
- การโต้แย้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
- ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง ไม่รับจดแจ้งการจัดตั้ง พรรคการเมืองของนายทะเบียนพรรคการเมือง มีสิทธิยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หนังสือแจ้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา 17)
คุณสมบัติของสมาชิกพรรคการเมือง
- ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งได้สัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5ปี
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
- ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ - มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นอยู่ในขณะเดียวกัน
ในกรณีที่พรรคการเมืองใดแอบอ้างว่าผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกพรรคโดยที่ผู้นั้นไม่รู้เห็นหรือไม่สมัครใจ ผู้ที่ถูกแอบอ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถูกแอบอ้างอาจแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาลบชื่อผู้นั้นออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น โดยถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น