ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก

ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก

ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราเชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักศัพท์ทางการเมืองอย่างคำว่า สลิ่ม กันอย่างแน่นอน ด้วยความหมายและการใช้ที่เอาไว้เรียกผู้ที่มีมุมมองทางการเมืองอย่างชัดเจนนั่นเอง แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่า คำว่า สลิ่ม นั้นมาจากไหน แล้วมีความเกี่ยวข้องอะไรกับขนมไทย ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่ม

 istock-679694460

ซ่าหริ่มเป็นขนมไทยประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่มักมีหลายสีและรับประทานกับน้ำกะทิโดยมีรสชาติหอมมันและมีกลิ่นใบเตยอีกด้วย ซ่าหริ่มมีขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทยและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก มักรับประทานโดยเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ส่วนผสมสำคัญของซ่าหริ่มจะมีแป้งถั่วเขียว น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลทราย น้ำใบเตยคั้น และน้ำกะทิ

ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก

 istock-484668065

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 ได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มเสื้อหลากสีเป็นซ่าหริ่มเพราะซ่าหริ่มมีหลายสี โดยใช้คำว่า "สลิ่ม" ที่มาและบริบทความหมาย ช่วงต้นปี 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ในขณะนั้นยุบสภา ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านคนเสื้อแดงอย่างหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือการเกิดขึ้นของกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนำของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งกลุ่มนี้ต่อมาขนานนามตนเองว่าเป็น "กลุ่มเสื้อหลากสี" การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อหลากสีได้สร้างปฏิกิริยาโต้กลับจากฝ่ายเสื้อแดงในทางเย้ยหยัน ว่าเป็นแค่การเปลี่ยนชื่อ/เปลี่ยนสีเสื้อ ของคนเสื้อเหลืองเก่า ที่ไม่สามารถใช้เสื้อเหลืองในการเคลื่อนไหวอย่างสะดวกใจได้ต่อไป เนื่องจากการเสื่อมความนิยมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกอบกับความกระดากที่กลุ่มพันธมิตรได้กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีสำคัญๆ

โดยมีการเรียก กลุ่มเสื้อหลากสี แทนคำว่า สลิ่ม ด้วยเหตุผลว่าสลิ่ม หรือขนมซ่าหริ่ม เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน เป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายสีของกลุ่มเสื้อหลากสี แม้ว่าในเบื้องแรกสลิ่มจะถูกใช้ขนานนามให้คนเสื้อหลากสีเป็นการเฉพาะ แต่ในที่สุดแล้วคำนี้ก็ได้กลายเป็นสแลงทางการเมืองที่แพร่หลายมากคำหนึ่งนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook