รู้เท่าทัน “ในยุคที่ใคร ๆ ก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูล” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ!

รู้เท่าทัน “ในยุคที่ใคร ๆ ก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูล” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ!

รู้เท่าทัน “ในยุคที่ใคร ๆ ก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูล” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคที่ใคร ๆ ก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดช่องทางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากมาย ทั้งทาง LINE, Facebook, Twitter หรือช่องทางต่าง ๆ จึงไม่แปลกที่จะเกิดข่าวปลอมทะลักโลกออนไลน์ และบางทีเราก็อาจเผลอแชร์ข่าวปลอมหรือ Fake news ไปให้ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

ยิ่งช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่ปกติอย่างโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเช่นเวลานี้ ก็ยิ่งมีข่าวปลอมออกมามากมาย และก็มีหลายคนหลงเชื่อเสียด้วย!

หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม Tonkit360 มีคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวในโลกออนไลน์มาฝากกัน

เช็กแหล่งที่มา

ตรวจสอบหาแหล่งที่ของข่าวหรือภาพก่อนว่า มาจากแหล่งไหน ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ใครเป็นผู้เขียน ระบุวันเวลา หรือสถานที่ไว้ชัดเจนหรือไม่ โดยอาจหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เป็นสำนักข่าว, หนังสือพิมพ์, เว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือค้นหาจาก Google ว่าข่าวสารดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หากไม่สามารถหาแหล่งที่มาได้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นข่าวปลอม

แม้ข่าวสารที่ได้รับมาจะอ้างอิงมาจากผู้สื่อข่าว, คนดัง หรือนักวิชาการ ก็จำเป็นต้องเช็กข้อมูลให้แน่ใจก่อนแชร์ออกไปเช่นกัน

สำหรับวิธีตรวจสอบที่มาของภาพที่โพสต์ในโลกออนไลน์ว่ามีที่มาจากไหน เป็นภาพเก่า ภาพใหม่ หรือภาพตัดต่อ และใครเป็นเจ้าของภาพตัวจริง สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่ภาพ จากนั้นเลือกคำว่า “ค้นหาภาพนี้ใน Google” หรือ “Search Google for image” จากนั้นระบบจะทำการค้นหาที่มาของภาพให้ทันที

ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

เมื่อได้รับข่าวสาร หรือข้อมูลต่าง ๆ สิ่งที่ควรทำก่อนส่งต่อข้อมูล คือการเช็กว่าข่าวสารที่ได้รับมานั้น มีข้อมูลจากแหล่งอื่นอีกหรือไม่ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากแต่ละแหล่งข่าวว่าข้อมูลส่วนใดตรงกัน และข้อมูลส่วนใดขัดแย้งกันบ้าง

หากพบว่าไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ ไม่มีสำนักข่าว หรือสื่อใดที่กล่าวถึง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวปลอม

เช็กว่าเป็นเว็บหรือเพจข่าวปลอมหรือไม่

ที่ผ่านมา มีข่าวเท็จหรือการสร้างข่าวเท็จผ่านเว็บไซต์ข่าวปลอม หรือเพจเฟซบุ๊กปลอมอยู่บ่อย ๆ รวมถึงเพจเฟซบุ๊กคนดังที่ถูกสร้างปลอมขึ้นมา จนทำให้มีการกระจายข่าวสารผิด ๆ ออกไปในโลกออนไลน์

สำหรับวิธีสังเกตว่าเป็นเว็บข่าวปลอมหรือไม่นั้น อาจดูว่า เว็บข่าวดังกล่าวลงท้ายด้วยอะไร เนื่องจากเว็บข่าวส่วนใหญ่ จะลงท้ายด้วย “.co.th” “.com” หรือ “.or.th” ฉะนั้น หากเจอเว็บไซต์ที่ลงท้ายว่า “.online” ให้รู้ไว้เลยว่านั่นเป็นเว็บไซต์ที่มีการปลอมขึ้นมาอย่างแน่นอน

ส่วนกรณีเพจเฟซบุ๊กปลอมนั้น อาจดูตรงเครื่องหมาย “ถูก” สีเขียว ที่อยู่บริเวณด้านหลังของชื่อเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว หากเพจไหนไม่มีเครื่องหมายถูกยืนยัน ก็มีโอกาสเป็นเพจปลอมเช่นกัน

ถ้ารู้ว่าเป็น “ข่าวปลอม” ควรรีบแจ้งให้ผู้คนอื่นทราบ

ถ้าเช็กจนรู้ว่า ข่าวที่เห็นเป็นข่าวปลอม คุณควรกระจายข้อเท็จจริงออกไปว่า “นี่คือข่าวปลอม” เพื่อให้ผู้คนในโลกออนไลน์ทราบเรื่อง และหยุดการส่งต่อทันที

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีสติ อย่าตื่นตระหนกกับข่าวสารที่ได้รับ จนลืมเช็กว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก่อนจะส่งหรือแชร์ต่อไปให้คนอื่น เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดี

ทั้งนี้ การส่งต่อข้อมูลข่าวสาร โดยที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องจริงนั้น จะมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook