ภาษาลู คืออะไร เรียนไวยากรณ์ ภาษาลู ใช้ยังไงถึงถูกจริตแบบชิคๆ เฟียสๆ
เรียกว่าเป็นภาษาที่อยู่กับวงการการนินทามานานมากจริงๆ สำหรับภาษาลู ภาษาที่นิยมใช้ในกลุ่มเพศทางเลือก ที่เอาไว้เม้าท์มอยอย่างออกรส โดยไม่ให้คนอื่นรู้ความหมายที่แท้จริงนั่นเอง เว้นแต่คนที่เรากำลังเม้าท์มอยอยู่รู้จักและใช้ภาษาลูเป็นนั่นแหละ อันนั้นจะเรียกว่าโป๊ะแตก
โดยในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาเรียนรู้ทำความรู้จักกับ ภาษาลู ว่ามัน คืออะไร แล้ว วิธีการใช้ ภาษาลู มันคืออะไร ไวยากรณ์ ภาษาลู มันใช้ยังไง มาศึกษาไปด้วยกันเลย
ภาษาลู คืออะไร เรียนไวยากรณ์ ภาษาลู ใช้ยังไงถึงถูกจริตแบบชิคๆ เฟียสๆ
ไวยากรณ์ “ภาษาลู”
ภาษาไทย 1 พยางค์ จะได้ภาษาลู 2 พยางค์เสมอ แบ่งหลัก ๆ ได้ 4 กรณี
- คำที่เป็นปรกติ
- คำที่มีพยัญชนะ ร, ล
- คำที่มีสระ อุ, อู
- คำที่มีทั้งพยัญชนะ ร, ล และมีสระ อุ, อู
กรณีที่ 1 คำที่เป็นปรกติ
1.1 คำที่มีสระเสียงยาว (ใช้ “ลู”)
1 นำคำว่า “ลู” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : สาม + ลู
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : หลาม + สูม
ตัวสะกด คือ ม ม้า และเสียงวรรณยุกต์ คือ จัตวา
1.2 คำที่มีสระเสียงสั้น (ใช้ “ลุ”)
1 นำคำว่า “ลุ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : กิน + ลุ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ลิน + กุน
ตัวสะกด คือ น หนู และเสียงวรรณยุกต์ คือ สามัญ
กรณีที่ 2 คำที่มีพยัญชนะ ร, ล
2.1 คำที่มีอักษร ร, ล ใช้ “ซู” (กรณี : คำที่มีสระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ซู” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : ลาก + ซู
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซาก + ลูก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ โท
2.2 คำที่มีอักษร ร, ล ใช้ “ซุ” (กรณี : คำที่มีสระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ซุ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รัก + ซุ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซัก + รุก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
กรณีที่ 3 คำที่มีสระ อุ, อู
3.1 คำที่มีสระอู ใช้ “ลี” (กรณี : คำที่มีสระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ลี” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : ขูด + ลี
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : หลูด + ขีด
ตัวสะกด คือ กด เด็ก และเสียงวรรณยุกต์ คือ เอก
3.2 คำที่มีสระอุ ใช้ “ลิ” (กรณี : คำที่มีสระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ลิ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : มุก + ลิ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ลุก + มิก
ตัวสะกด คือ ก ไก่ และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
กรณีที่ 4 คำที่มีทั้งพยัญชนะ ร, ล และมีสระ อุ, อู
4.1 คำที่มีทั้ง ร, ล และสระอู ใช้ “ซี” (กรณี : สระเสียงยาว)
1 นำคำว่า “ซี” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รู้ + ซี
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซู้ + รี้
ตัวสะกด คือ - และเสียงวรรณยุกต์ คือ ตรี
4.2 คำที่มีทั้ง ร, ล และสระอุ ใช้ “ซิ” (กรณี : สระเสียงสั้น)
1 นำคำว่า “ซิ” มาต่อหลังคำ
ตัวอย่าง : รุม + ซิ
2 สลับอักษรทั้ง 2 คำ
นำวรรณยุกต์และตัวสะกดมาด้วย พยางค์ที่ 1 และพยางค์ที่ 2 เสียงวรรณยุกต์ และตัวสะกด จะเหมือนกัน
แปลงได้เป็น : ซุม + ริม
ตัวสะกด คือ ม ม้า และเสียงวรรณยุกต์ คือ สามัญ