การประกาศ "เคอร์ฟิว" คืออะไร? กำหนดขึ้นเพื่ออะไร

การประกาศ เคอร์ฟิว หรือ การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน กับการ ล็อกดาวน์ คืออะไร?

การประกาศ เคอร์ฟิว หรือ การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน กับการ ล็อกดาวน์ คืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคอร์ฟิว หรือ การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน

การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน หรือ เคอร์ฟิว หมายถึง คำสั่งของรัฐบาลให้ประชาชนกลับเคหสถานก่อนเวลาที่กำหนด อีกนัยหนึ่งคือการห้ามประชาชนออกจากเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด (มักเป็นเวลากลางคืน) ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือให้ความสะดวกต่อการปราบปรามกลุ่มเป้าหมาย โดยคำว่า คำว่า "เคอร์ฟิว" (curfew) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า couvre feu แปลว่า ดับไฟ (couvre = ดับ, feu = ไฟ)

โดยการประกาศ เคอร์ฟิว นั้นเรียกว่าเป็น สถานการณ์ฉุกเฉิน (state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้นๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (อังกฤษ: curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

เคอร์ฟิว ต่างจาก ล็อกดาวน์

ล็อกดาวน์ เป็นสถานการณ์ ฉุกเฉินที่ป้องกันไม่ให้ผู้คนหรือข้อมูลออกจากพื้นที่ เป็นสถานการณ์สามารถเริ่มได้โดยบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำของประเทศเท่านั้น ล็อกดาวน์ ยังสามารถใช้เพื่อปกป้องประชาชนในอาคาร จากภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ภายนอกของอาคาร ให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน งดออกไปไหนมาไหน จากอาคารที่อยู่ ปิดบริการทุกอย่างยกเว้นที่จำเป็น (ร้านอาหาร ร้านยา ธนาคาร) ห้ามจัดกิจกรรมที่คนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เว้นระยะห่างในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ต่างจากเคอร์ฟิวที่เป็นการห้ามออกจากพื้นที่เป็นระยะเวลานั่นเอง

การประกาศและการยกเลิกประกาศ

การประกาศว่าท้องที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เข้าร่วมกันเยียวยาสถานการณ์นั้น เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยจะประกาศทั้งราชอาณาจักรหรือบางท้องที่ก็ได้ และประกาศนี้มีอายุใช้บังคับสามเดือนนับแต่วันประกาศ แต่นายกรัฐมนตรีอาจขยายอายุดังกล่าวได้คราวละไม่เกินสามเดือนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ในบางสถานการณ์ หากไม่อาจขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศไปก่อน ค่อยขอความเห็นชอบทีหลังภายในสามวันนับแต่วันประกาศ หากคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ประกาศเช่นว่าจะเป็นอันสิ้นสุดลง (ม.5 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้วก็ดี เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบก็ดี หรือเมื่ออายุของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับหนึ่ง ๆ สิ้นสุดลงก็ดี นายกรัฐมนตรีจะมีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น (ม.5 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ทั้งนี้ ในกฎหมายเดิมกำหนดให้การประกาศและยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกัน (ม.21 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook