ปัญหา Bully ในโรงเรียน สถานศึกษา คืออะไร ทำไมปัญหานี้ยังคาราคาซังอยู่ในสังคมไทย

ปัญหา Bully ในโรงเรียน สถานศึกษา คืออะไร ทำไมปัญหานี้ยังคาราคาซังอยู่ในสังคมไทย

ปัญหา Bully ในโรงเรียน สถานศึกษา คืออะไร ทำไมปัญหานี้ยังคาราคาซังอยู่ในสังคมไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาความรุนแรง หรือปัญหาการกลั่นแกล้งในสถานศึกษานั้น เรียกว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นมาในสังคมไทย และทั่วโลกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ได้เพียงแค่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ถูกกระทำแล้ว แต่ว่ามันยังสร้างผลกระทบให้กับผู้กระทำอีกด้วยนะ

สถานศึกษาคือบ่อเกิดแห่งการกลั่นแกล้ง?

การ กลั่นแกล้ง (Bully) เป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในสถานศึกษา การกลั่นแกล้งนั้นมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การทุบตี ซึ่งส่งผลทางกายภาพ หรือการด่าทอ เสียดสี เหยียด ล้อเลียนปมด้อยของคนที่ต้องการกลั่นแกล้ง ซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจ หรือแม้แต่การขโมยของเผื่อนำไปซ่อนนั้นก็ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งในรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าจะมีหลายคนเชื่อว่าประเทศไทยนั้นอยู่กันอย่างเป็นมิตร มีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่จากสถิติพบว่าประเทศไทยพบว่า มีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 6 แสนคน

การกลั่นแกล้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 13-18 ปี หรือช่วงมัธยมศึกษา อาจเป็นเพราะว่าในช่วงเวลานี้เติบโตขึ้น แต่มักมีความเปราะบางในตัวเอง ตัวนักเรียนในวัยนี้ต้องการ Self-esteem อย่างยิ่ง เมื่อบางคนมีลักษณะเด่นที่ดูแตกต่าง อย่างการได้รับคำชมจากอาจารย์มากกว่าคนอื่น มีผลการเรียนที่ดีกว่า หรือแม้แต่มีเพศที่แตกต่างจากเพศกระแสหลัก เป็นเหตุให้บางคนต้องแสวงหาวิธีการแสดงอำนาจที่เหนือกว่าในด้านใดด้านหนึ่ง

ในปัจจุบัน ความรุนแรงในสถานศึกษามีอีกรูปแบบการกลั่นแกล้งที่มักเกิดขึ้นกับนักเรียนและนักศึกษา คือ การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) ซึ่งใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจไม่มีผลกระทบทางกายภาพ แต่ผู้ถูกกระทำมักจะได้รับผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมาก และบางครั้งหาตัวผู้กระทำไม่ได้ เพราะตัวผู้ถูกกระทำอาจไม่รู้จักผู้กระทำที่อาจอยู่ในสถานศึกษาเสียด้วยซ้ำ เป็นเพียงเพราะตัวเองมีลักษณะที่น่าแกล้ง นับเป็นการคุกคามรูปแบบใหม่ซึ่งมีอันตรายสูง เพราะทำได้ง่าย และส่งผลกระทบมากต่อจิตใจผู้ถูกกระทำ

การกลั่นแกล้ง รังแก (Bullying) ในโรงเรียนประเภทของการกลั่นแกล้ง

  • ทางร่างกาย เช่น การชกต่อย การผลัก การตบตี
  • ทางสังคมหรือด้านอารมณ์ เช่น กดดัน ยั่วยุ ให้เพื่อนๆ แบ่งแยก ออกห่างจากกลุ่ม ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจ
  • ทางวาจา ทางคำพูด เช่น เยาะเย้ย ดูถูก เสียดสี นินทา โกหกบิดเบือน เพื่อให้เกิดความเจ็บปวด
  • Cyberbullying หรือ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ด้วยวิธีการ โพสต์ข้อความโจมตี หลอกลวง ทำร้าย คุกคามทางเพศ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย เป็นเท็จ เพื่อให้อีกฝ่ายอับอาย เจ็บปวดและเสียใจ

ผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้ง

การกลั่นแกล้งนั้นมีหลายเหตุผลที่ทั้งหมดก็คือ ทำไปเพื่อความสนุกสนาน หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “แค่แซวเล่นเอง” “คิดมาก” และ “แค่นี้เล่นด้วยไม่ได้เหรอ” ทว่าสำหรับคนที่ถูกแกล้งนั้นหลายบริบทเขาไม่ได้รู้สึกสนุกด้วย มีตัวอย่างหลากหลายให้พบตามสื่อต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์การล้อปมด้อยจนเหยื่อตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง หรือบางคนกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตต่าง ๆ หากโชคร้ายอาจทำให้เขาถูกกลั่นแกล้งมากขึ้นไปอีก เพราะมีลักษณะนิสัยภายนอกแตกต่างไปจากคนอื่น

ผลกระทบ ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง

  • มีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
  • ส่งผลต่อความรู้สึกโดดเดี่ยว
  • มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการนอนหลับ การรับประทานอาหาร
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่พวกเขาเคยสนุก
  • ภาวะซึมเศร้านี้อาจส่งผลไปถึงวัยผู้ใหญ่ได้
  • ปัญหาด้านสุขภาพ
  • ประสิทธิภาพทางการเรียนลดลงและมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนกลางคันมากขึ้น

ผลกระทบ ผู้ที่กลั่นแกล้งผู้อื่น

  • อาจจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดอื่นๆ
  • มีพฤติกรรมลักขโมยและเรียนไม่จบ
  • มีพฤติกรรมทางเพศก่อนวัยอันควร
  • อาจจะเป็นอาชญากรในอนาคต
  • มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับคู่สมรสหรือลูก และคนใกล้ตัว

จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดความรุนแรงในสถานศึกษา อาจเกิดขึ้นจาก การกดขี่ เห็นคนอื่นต่ำกว่าตน ความสนุกความคึกคะนองของวัย รวมถึงสภาพสังคม และสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงปรากฏเป็นนิจประกอบกับการที่โรงเรียนไม่ค่อยในความช่วยเหลือ หรือบางกรณีทางโรงเรียนกลับไกล่เกลี่ยในมีการยอมความหรือจบเรื่องกันไปมากกว่าช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง

ทั้งนี้ปัญหาเรื่องความรุนแรง โดยเฉพาะการกลั่นแกล้งกันในสถานศึกษานั้นยังไม่ค่อยได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจังมาจนถึงทุกวันนี้ ในบางสถาบันเมื่อเกิดเรื่องกลับให้มีการปกปิดเรื่องราวมากกว่าการตีแผ่เพราะเป็นห่วงเรื่องชื่อเสียงของสถาบัน รวมทั้งความกลัวของผู้ถูกกลั่นแกล้งเอง จนไม่กล้าบอกคนอื่น และเลือกที่จะเก็บปัญหาเหล่านั้นไว้คนเดียวจนนำไปสู่การโดนทำร้ายร่างกายอย่างต่อเนื่อง เป็นโรคซึมเศร้า จนอาจถึงขั้นตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง แต่ที่น่าเศร้าใจไปกว่านั้นคือ ผู้กระทำคิดว่าการกลั่นแกล้งนั้นเป็นเรื่อง “ปกติ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook