การสร้าง เขื่อนแม่น้ำโขง ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

การสร้าง เขื่อนแม่น้ำโขง ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?

การสร้าง เขื่อนแม่น้ำโขง ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการละลายของหิมะและน้ำแข็งบริเวณที่ราบสูงทิเบต ในบริเวณตอนเหนือของทิเบต ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว เริ่มไหลผ่านดินแดนประเทศไทยที่บริเวณสบรวก สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอเชียงของ ก่อนไหลเข้าประเทศลาวที่แก่งผาได อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย จึงนับเป็นจุดสุดท้ายของแม่น้ำโขงที่ผ่านดินแดนภาคเหนือของไทย รวมความยาวช่วงที่ไหลผ่านพรมแดนกั้นไทย-ลาว ที่จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร ก่อนที่จะไหลวกกลับเข้ามายังดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่งที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทย-ลาว ผ่านดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมความยาวช่วงที่ไหลผ่านพรมแดนกั้นไทย-ลาว เป็นระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่ประเทศกัมพูชา ที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงแตรง จังหวัดกระแจะ จังหวัดกำปงจาม กรุงพนมเปญ และไหลเข้าเขตประเทศเวียดนามที่หมู่บ้านวินฮือ ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร

ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านมีชื่อเรียกเป็นภาษาของไทลื้อ ซึ่งเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงอย่างหนาแน่นในดินแดนสิบสองปันนาว่า “แม่น้ำล้านช้าง” คนจีนทั่วไปเรียกว่า แม่น้ำหลานซาง หรือ หลานชางเจียง มีความหมายว่า เป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก เมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และ ประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง

ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก

นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง

การสร้างเขื่อนกั้นแม่นำโขง

แม่น้ำโขง ไหลผ่าน 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ เดิมทีมีการเขื่อนที่จีน ก็เรียกว่าสร้างความลำบากมากมาย เพราะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก จากการควบคุมปริมาณน้ำจากเขื่อนต่างๆ มากมาย และนอกจากนั้นสิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกทั่วภูมิภาค รวมไปถึงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดไปถึงการลดลงและสูญพันธุ์ของปลาแม่น้ำโขงนั่นเอง

และนี่คือรายชื่อเขื่อนที่กั้นแม่น้ำโขงแต่ละประเทศ

ประเทศจีน

  • เขื่อนวุ่นอองหลง (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนหวงเติ้ง (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนต้าหัวเฉียว (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนเมียวเว่ย (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนกอนเฉาเกียว (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนกูฉุย (กำลังก่อสร้าง)
  • เขื่อนตู้ป่า (กำลังก่อสร้าง)
  • เขื่อนหลีตี้ (กำลังก่อสร้าง)
  • เขื่อนเสี่ยววาน (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนม่านวาน (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนต้าเฉาซาน (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนนั่วจาตู้ (สร้างเสร็จแล้ว)
  • เขื่อนจิงหง (สร้างเสร็จแล้ว)

ประเทศลาว

  • เขื่อนปากแบ่ง (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนหลวงพระบาง (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนไชยะบุรี (โครงการล่าสุด)
  • เขื่อนปากลาย (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนสะนะคาม (อยู่ในแผน)

ประเทศไทย

  • เขื่อนปากชม (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนบ้านกุ่ม (อยู่ในแผน)

ประเทศลาว

  • เขื่อนภูงอย (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนดอนสะโอง (กำลังก่อสร้าง)

ประเทศกัมพูชา

  • เขื่อนสตึงเตร็ง (อยู่ในแผน)
  • เขื่อนชำบอ (อยู่ในแผน)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook