“ไลฟ์สไตล์” ของชาวโลกที่เปลี่ยนไป ในยุค COVID-19

“ไลฟ์สไตล์” ของชาวโลกที่เปลี่ยนไป ในยุค COVID-19

“ไลฟ์สไตล์” ของชาวโลกที่เปลี่ยนไป ในยุค COVID-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 มายาวนานกว่า 4 เดือน ทำให้การดำเนินชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งการทำงานแบบ Work from Home ทั้งการซื้ออาหารที่สามารถทำได้เพียงสั่งกลับบ้านเท่านั้น ขณะที่ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าต่าง ๆ ที่ถูกสั่งปิดเป็นการชั่วคราว รวมถึงสายการบินก็งดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศด้วย

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ที่ไม่ได้ติดต่อกันได้อย่างง่ายดาย แต่หากเผลอไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว แล้วนำมาสัมผัสใบหน้าต่อ เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายผ่านเยื่อบุตา จมูก และปาก

ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงต้องปรับตัวกันเป็นการใหญ่ เพื่อให้ปลอดจากโรคระบาดดังกล่าว เพราะหากมีคนในครอบครัวเพียงคนเดียวติดเชื้อขึ้นมา จะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้อีก 2.2 คน ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวใช้เวลาฟักตัวนานถึง 14 วัน กว่าจะรู้ตัวว่าติดเชื้อก็อาจส่งต่อเชื้อไปให้ผู้อื่นเป็นวงกว้างแล้ว

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการปรับตัวในครั้งนี้ คือ ทุกคนเริ่มใส่ใจเรื่องการสวมใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้ากันมากขึ้น และให้ความสำคัญกับ Social Distancing มากขึ้น ด้วยการเว้นระยะห่างระหว่างกันให้มากขึ้นตามที่มีการรณรงค์กันทั่วโลก

นอกจากนี้ ไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนยังเปลี่ยนไปด้วย ซึ่ง Statista บริษัทวิจัยการตลาดชื่อดังของโลก ทำการจากผลการสำรวจและรวบรวมสถิติจาก 4 ประเทศใหญ่ของโลกที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างหนัก ทั้ง จีน, สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี และสหราชอาณาจักร พบว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิม ในยุคที่ COVID-19 ครองโลก

1

จากกราฟดังกล่าว จะเห็นว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อมากขึ้น อาทิ เลือกอยู่บ้านให้มากขึ้น (จีน 69%, เยอรมนี 75%, สหราชอาณาจักร 84 %, สหรัฐฯ 83%), เว้นระยะห่างทางสังคม (จีน 56%, เยอรมนี 62%, สหราชอาณาจักร 81 %, สหรัฐฯ 78%), ล้างมือมากขึ้น (จีน 77%, เยอรมนี 76%, สหราชอาณาจักร 79%, สหรัฐฯ 78%)

นอกจากนี้ การออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านก็ปรับเปลี่ยนไปด้วย อาทิ หลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะ (จีน 57%, เยอรมนี 60%, สหราชอาณาจักร 67%, สหรัฐฯ 70%), ออกไปซื้อของนอกบ้านน้อยลง (จีน 58%, เยอรมนี 62%, สหราชอาณาจักร 76%, สหรัฐฯ 70%), หลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (จีน 62%, เยอรมนี 53%, สหราชอาณาจักร 61% , สหรัฐฯ 36%), เดินทางน้อยลง (จีน 56%, เยอรมนี 49%, สหราชอาณาจักร 71% , สหรัฐฯ 55%)

ขณะที่พฤติกรรมในการช้อปปิ้งก็เปลี่ยนไปด้วย เมื่อเลือกที่จะใช้เงินสดให้น้อยลง (จีน 42%, เยอรมนี 42%, สหราชอาณาจักร 61% , สหรัฐฯ 38%) และช้อปปิ้งออนไลน์ให้มากขึ้น (จีน 56%, เยอรมนี 49%, สหราชอาณาจักร 71% , สหรัฐฯ 55%)

ทั้งนี้ คนที่บอกว่าตนเองไม่ได้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ไปจากเดิมเลย ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก โดยจีน และสหรัฐฯ มีเพียง 1%, สหราชอาณาจักร 2% และเยอรมนี 4% ซึ่งน่าจะเป็นนิมิตหมายอันดีว่าจำนวนผู้ติดเชื้อน่าจะค่อย ๆ ลดจำนวนลง และการแพร่ระบาดในแต่ละประเทศจะค่อย ๆ เบาบางลงเรื่อย ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook