10 วิธีในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนต่อต่างประเทศ

10 วิธีในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนต่อต่างประเทศ

10 วิธีในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปเรียนต่อต่างประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจที่จะมาเรียนต่อต่างประเทศ และคิดว่าจะต้องมีเงินเยอะๆ และค่าใช้จ่ายแพง อยู่ลำบากหรือว่าล้มเลิกความตั้งใจที่อยากจะมาใช้ชีวิตในต่างประเทศ ในบทความนี้จะเล่าถึงเทคนิคที่จะช่วยให้เราใช้จ่ายอย่างประหยัดระหว่างที่มาอยู่ในต่างประเทศ และ Yhubthailand ได้คัดเลือกรวบรวม 10 เทคนิคที่ดีที่สุดมาแนะนำให้ได้เรียนรู้ และลองทำไปพร้อมๆกัน

90098905_553892475476336_3090

1. รู้เกี่ยวกับงบประมาณการใช้จ่ายของเรา

การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณของตัวเองนั้น ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการที่เราจะจัดการเงินของตัวเองในระหว่างที่เราอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่ใช่เพียงแค่ว่าเรามีเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว หรือเงินที่เรากู้มาและเรารู้สึกว่ามีเงินเยอะ จะใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ แต่เราควรที่จะประหยัดและใช้จ่ายเฉพาะของที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ในช่วงแรกของการที่เราทำรายรับ รายจ่ายอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ตกหล่นในบางรายการ แต่ถ้าหากเราฝึกทำไปเรื่อยๆ หรือใช้เครื่องมือการคำนวณของ UCAS budget calculator ก็จะช่วยให้เราคำนวณได้ง่ายขึ้น

2. ใช้สิทธิการเป็นนักศึกษาก็ลดราคาได้เยอะ

บัตร ISIC ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร UNESCO โดยจะต้องมีสถานะเป็นนักเรียน ซึ่งบัตรนี้มีนักเรียนใช้อยู่มากกว่า 150,000 คนทั่วโลก ใน 130 กว่าประเทศ เราสามารถใช้บัตรนี้ในการลดราคาที่อยู่อาศัย อาหารและเครื่องดื่ม ท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรม บริการต่างๆ และด้านกีฬา

3. โทรหาที่บ้านให้น้อยลง

ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ให้เราติดต่อกับที่บ้านหรือตัดขาดกันไปเลย แต่หมายถึงการที่เราโทรศัพท์จากต่างประเทศกับไปหาครอบครัวของเราซึ่งไม่ได้อยู่ในประเทศเดียวกัน เราจะต้องเสียค่าโทรศัพท์ที่สูงมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการติดต่อครอบครัวในต่างประเทศเราอาจจะใช้บริการโทรฟรีออนไลน์ เช่น Skype, Whatsapp, Google, Hangouts, Rebtel หรือ Viber และถ้าหากต้องการติดต่อกับเพื่อนหรือคนรู้จักในประเทศที่เราไปอาศัยอยู่ ให้เราเปลี่ยนไปใช้ซิมโทรศัพท์ของประเทศนั้นๆจะดีกว่า

4. การเดินทางโดยใช้รถสาธารณะ

ในการที่เราย้ายไปต่างประเทศช่วงแรก เราอาจจะเผชิญปัญหาด้านการใช้รถสาธารณะ และเลือกไปใช้เส้นทางเดินที่สะดวกกว่า เช่น รถแท๊กซี่ ซึ่งจากการวิจัยแห่งหนึ่งได้บอกว่า ค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเดินทางนั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ

5. หางานพาร์ทไทม์ทำในช่วงเวลาว่าง

การหางานทำในช่วงเวลาว่างของการเรียนนั้น เป็นแนวทางที่ดีในการที่เราจะสามารถหาเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่สามารถทำงานพาร์ทไทม์ต่อสัปดาห์ได้มากถึง 20 ชั่วโมง ดังนั้นการที่เราสำรวจมาก่อนว่าประเทศที่เราไปเรียนนั้น นักเรียนส่วนใหญ่ที่นั่นทำงานประเภทอะไร เพื่อที่เราไปถึงแล้วจะได้ใช้เวลาไปกับการสมัครหางาน แต่เพื่อความมั่นใจเราก็ต้องทำการตรวจสอบเงื่อนไขวีซ่าของเราด้วยว่าสามารถทำงานได้หรือไม่ เพราะบางประเทศไม่อนุญาตให้วีซ่านักเรียนสามารถทำงานได้ โดยเข้าไปศึกษารายละเอียดในเว็บไซด์ของรัฐบาลประเทศนั้นๆ

6. เรียนรู้ที่จะทำอาหารพื้นเมือง

หนึ่งในค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดของนักเรียนที่มาเรียนต่างประเทศ คือ ค่าอาหาร ซึ่งถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เราควรที่จะทานอาหารข้างนอกบ้านนานๆ ครั้ง และทำอาหารกินเองถ้าเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เราพักอาศัยว่าการเดินทางไปซื้อของกลับมาทำทานเองนั้นสะดวกไหม ซึ่งถ้าบ้านเราอยู่ไกลซูเปอร์มาร์เก็ต และการสั่งอาหารมาทานที่บ้านเราก็จะต้องมีทักษะในการสั่งและอาหารราคาแพง นอกจากนี้การที่เราฝึกทำอาหารพื้นเมืองของที่นี่ ก็จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะมีในท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ได้เรียนรู้รสชาติอาหารใหม่ๆ รวมทั้งการได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ระหว่างนั่งทานอาหารร่วมกัน

7. การเลือกไปอยู่อาศัยในเมืองหรือประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำ

ถ้าหากเราเป็นคนที่ไม่ค่อยเจาะจงกับเมืองหรือประเทศที่เราจะไปเรียนต่อในต่างประเทศ เราก็เลือกเรียนในสถานที่ที่ค่าครองชีพไม่แพง เช่น อาหารอย่างเดียวกันขายที่เมือง New york ราคา 8 เหรียญ แต่ถ้าขายที่ New Mexico ราคา 4 เหรียญ สำหรับเว็บไซด์ Numbeo website เป็นเว็บไซด์ที่บอกราคาสถานที่พักต่างๆทั่วโลก โดยเราสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบราคากันได้ จากข้อมูลของผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นจริงๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เราวางแผนการใช้จ่ายที่ดียิ่งขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

8. เปิดบัญชีธนาคาร

เป็นความคิดที่ดีที่เราจะเปิดบัญชีธนาคารในประเทศที่เราไปอยู่ ซึ่งเราจะได้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตมาใช้ก็แล้วแต่ตามเงื่อนไขของธนาคารและประเภทวีซ่าของเรา ซึ่งในแง่ดีของการที่เราเปิดบัญชีธนาคารคือการที่เราจะได้นำเงินสดไปฝากไว้ในธนาคารเพื่อความปลอดภัย

แต่ก็ต้องดูดีๆ ว่าเงื่อนไขของธนาคารที่เราไปฝากเงินนั้น ถ้าหากเราต้องการที่จะถอนเงินออกมาใช้ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือไม่ เพราะถ้ามีเราควรที่จะถือเป็นเงินสดไว้ส่วนหนึ่ง โดยการคำนวณจากค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องใช้ ซึ่งจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เรารู้จักการประมาณและใช้จ่ายอย่างประหยัด

9. การใช้วันหยุดพักผ่อนกับเพื่อน

การออกไปท่องเที่ยวในระหว่างที่เรียนอยู่ต่างประเทศ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเยอะ โดยเพราะถ้าหากเรามีเพื่อนในประเทศนั้น หรือครอบครัว ญาติพี่น้องที่เรารู้จักอยู่ใกล้ๆเมืองที่เราอยู่ก็สามารถที่จะไปขออาศัย โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าโรงแรม รวมถึงถ้าหากเรายิ่งมีเพื่อนเยอะ เราก็สามารถที่จะสามารถที่จะไปเที่ยวกับเพื่อนโดยการแชร์ค่าใช้จ่ายกับเพื่อนๆ ของเรา ทำให้ค่าใช้จ่ายในแต่ละทริปนั้นถูกลงไปด้วย

10. การใช้แอปพลิเคชั่นให้เป็นประโยชน์

ในปัจจุบัน โทรศัพท์เป็นสิ่งที่ทุกคนมีใช้กันอยู่แล้ว ซึ่งก็มีแอปต่างๆมากมายที่จะช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ เช่น XE Currency Converter เป็นแอปที่ใช้ในการเช็คค่าเงินอัตราการแลกเปลี่ยน หรือ MoneyWise แอปที่จะบอกเส้นทางการใช้จ่ายของเราว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง

และแอปพลิเคชั่นทางการเงิน ที่จะมาช่วยในการบริหารการใช้เงินของเรา คือ Goodbudget เป็นแอปที่สอนในเทคนิคในการจัดแบ่งหมวดหมู่การใช้จ่ายเงินของเรา และ Savings Goal จะช่วยเตือนเราในเรื่องของการมีเงินสำรองเก็บไว้ใช้ในยามที่เราต้องการ

นี่ก็เป็น 10 วิธีที่นำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ที่กำลังสนใจไปเรียนต่อหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศได้ลองนำไปใช้ และถ้าหากใครมีวิธีที่ทำแล้วน่าสนใจและอยากจะแบ่งปันเพื่อนๆ ก็สามารถแสดงความคิดเห็นที่ด้านล่างได้เลย

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งก์ : https://www.student.com/articles/10-ways-to-save-money-when-studying-abroad

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook