8 ทักษะการเอาชีวิตรอดที่ทุกคนควรรู้

8 ทักษะการเอาชีวิตรอดที่ทุกคนควรรู้

8 ทักษะการเอาชีวิตรอดที่ทุกคนควรรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พวกเราเกิดมาในยุคของเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกสบายและทันสมัย แต่ถ้าหากเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย เช่น อยู่ท่ามกลางพายุหมุนที่น่ากลัวและอันตราย ไฟฟ้าดับ หรือทำให้เราพลัดหลงไปในที่ที่ไม่รู้จักจนไม่สามารถหาทางออกได้ แต่สถานการณ์เลวร้ายนี้จะรุนแรงจะลดน้อยลง ถ้าหากเรารู้ทักษะการเอาชีวิตรอด เพื่อให้เพื่อนๆ เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้น ทาง Yhubthailand ได้รวบรวม 8 ทักษะการเอาชีวิตรอดที่ทุกคนควรรู้ เช่น การก่อไฟ การสร้างที่กำบัง หรือการรักษาแผลเบื้องต้น เป็นต้น โดยถ้าเพื่อนๆได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่ถูกต้องก็สามารถที่จะเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้าย สิ้นหวัง เป็นการมีความหวังในชีวิตรอด เพราะฉะนั้นควรที่จะเรียนรู้ทักษะนี้ไว้ เพราะซักวันหนึ่งอาจจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ก็เป็นได้

 87017674_540726666792917_4688

1. การหาและการทำน้ำดื่มให้บริสุทธิ์

ไม่มีอะไรในสถานการณ์ที่ต้องเอาชีวิตรอดสำคัญมากไปกว่าการมีน้ำดื่มที่สะอาด เพราะว่ามนุษย์สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากอาหาร หรือสถานที่กำบังเพื่อหลบภัย ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าหากขาดน้ำดื่มเราจะเสียชีวิตในเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือหลักนาทีในกรณีที่สภาพอากาศนั้นร้อนมาก แต่การที่เราจะหาน้ำที่สามารถดื่มได้ตามธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ยาก และไม่ได้เจอในทุกๆ ครั้ง แต่เราก็ได้มีเทคนิค วิธีมาแนะนำในการหาน้ำดื่มที่สะอาด

สังเกตจากภูมิประเทศ พืชผักที่มีสีเขียว และดิน

ถ้าหากเราอยู่ในภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเนินเขา หุบเขา ให้เรานึกไว้เสมอว่าแหล่งน้ำ เช่น ลำธารหรือคลองขนาดเล็กจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ ซึ่งเราอาจจะพบแหล่งน้ำได้ตามรอยแยกหรือเนินเขา แต่ถ้าหากไม่พบก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำอยู่ที่นั่น ให้ลองฟังเสียงของน้ำที่ตกลงมาจากที่สูงกระทบหินหรือพื้น และในอีกกรณีหนึ่งหากเราไม่พบแหล่งน้ำ ก็ให้มองหาแหล่งอาศัยของสัตว์ เพราะว่าโดยธรรมชาติของสัตว์นั้นจะอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เช่น แมลง หรือถ้าหากไม่เจอ แหล่งที่พึ่งสุดท้าย คือ การขุดหลุมบนพื้นดินที่มีความชื้น เพราะสันนิษฐานว่าจะมีน้ำใต้ดินอยู่ที่นั่น แต่ก็ควรนึกไว้เสมอว่าน้ำใต้ดินนั้นไม่ได้สะอาดเท่าที่ควรและมีจุลินทรีย์ รวมทั้งปรสิตอยู่ด้วย

ระวังแหล่งน้ำนิ่ง

เพราะว่าในแหล่งน้ำที่นิ่งนั้นเป็นที่อาศัย และเพาะพันธุ์ของทั้งปรสิตและแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาศัยของยุงซึ่งเป็นพาหะของโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคที่อันตรายต่อมนุษย์ ดังนั้นเราควรที่จะหลีกเลี่ยงและไปหาแหล่งน้ำที่มีการไหลจะดีกว่า

ต้มน้ำก่อนที่จะดื่มหากเป็นไปได้

ถึงแม้ว่าเราจะเจอกับแหล่งน้ำที่มีการไหล และน้ำในแหล่งน้ำนั้นดูใส สะอาด แต่ถ้าหากเรานำน้ำไปต้มก่อน ก็จะช่วยลดสิ่งสกปรกภายในน้ำ เช่น ปรสิต หรือสิ่งมีชีวิตที่เป็นพาหะโรคต่างๆ รวมทั้งขจัดสิ่งสกปรกออกไปจากน้ำด้วย นอกจากนี้การที่เราไม่สามารถที่จะหาน้ำสะอาด หรือต้มน้ำได้และอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ก็อาจจะเป็นตัวเลือกสุดท้าย ย้ำว่าเป็นตัวเลือกสุดท้าย!!! ยกเว้นว่าเราจะมีเครื่องกรองน้ำแบบพกติดตัว (Personal water filter or Purification tables) นอกจากจะสามารถฆ่าแบคทีเรียและปรสิตที่เป็นพาหะทางน้ำได้ถึง 99.9% ยังสามารถที่จะกรองน้ำดื่มได้มากถึง 1,000 ลิตรโดยปราศจากการใช้สารเคมี

2. การเริ่มจุดและก่อไฟ

ขั้นตอนต่อจากการหาน้ำดื่มที่สะอาดแล้ว ความสามารถในการก่อไฟ ก็เป็นทักษะที่สำคัญและมีประโยชน์ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ ในกรณีฉุกเฉินที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราอบอุ่นในเวลาหนาว แต่ยังสามารถที่จะเอามาต้มน้ำดื่มให้สะอาด หุงอาหาร ป้องกันสัตว์นักล่าต่างๆ และเป็นสัญญาณของความช่วยเหลือ ซึ่งโดยปกติเราอาจจะพกไฟแช็คและเครื่องจุดไฟไว้กับตัวตลอดเวลาในการไปผจญภัย แต่ถ้าหากเราไม่มีอุปกรณ์ในการจุดไฟ เราจะทำอย่างไร

สิ่งที่แห้งเป็นสิ่งที่ดี

สิ่งที่เราจะเอามาทำเชื้อเพลิง เช่น ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ เป็นต้น สิ่งแรกที่เราต้องดูคือมันแห้งหรือว่ามีความชื้น โดยสิ่งแรกที่เราจะสังเกตคือสีความสดของสีเขียว ถ้าเป็นใบไม้หรือกิ่งไม้แห้ง ความสดของสีเขียวจะน้อยกว่าใบไม้หรือกิ่งไม้ที่ยังสดอยู่ สิ่งที่สองที่เราสังเกตคือ ใบไม้หรือกิ่งไม้แห้ง จะแตกหรือหักง่ายกว่าใบไม้หรือกิ่งไม้สด โดยหญ้าแห้งนั้นสามารถที่จะติดไฟได้ดีกว่าหญ้าสดถึง 10 เท่า โดยหญ้าสดจะใช้ในกรณีที่ต้องการสร้างสัญญาณควัน

เริ่มต้นจากเล็กๆ

ในที่นี้เราจะพูดถึงเส้นใย ยกตัวอย่างถ้าเราจุดไฟจากหินไฟด้วยการขูดหรือกะเทาะกันเป็นประกายไฟ ใบไม้แห้งที่มีเส้นใยขนาดเล็กจะเกิดควันและติดไฟได้ง่ายกว่า กิ่งไม้ที่มีเส้นใยขนาดใหญ่ และพอเมื่อไฟติดเราก็นำกองไฟขนาดเล็กที่ได้ ไปใส่ไว้ทางด้านใต้ของกองไม้ขนาดใหญ่ที่เราเตรียมไว้ แต่สิ่งที่เราอยากจะบอกเพื่อนๆ คือ การจุดไฟจากการขูดหินไฟนั้น ต้องมีความอดทน และค่อยๆ ทำไปจนได้กองไฟอย่างที่เราต้องการ

มีความคิดสร้างสรรค์

การที่เราจะจุดไฟนั้น ไม่ได้มีแค่การใช้ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค หรือหินไฟที่กะเทาะกันแล้วเกิดประกายไฟเพียงเท่านั้น ถ้าเพื่อนๆ นึกย้อนกับไปวัยเด็กที่เคยใช้แว่นขยายส่องดูสัตว์ขนาดเล็ก ก็สามารถที่จะนำมาใช้จุดไฟได้เช่นกัน โดยนำแว่นขยายมารวมแสงแดดให้เกิดความเข้มข้นแสงที่มากพอจนทำให้วัสดุติดไฟ เกิดไฟขึ้นมา หรือถ้าหากเราอยู่ในสภาวะที่อากาศหนาว ก็สามารถใช้น้ำแข็งมาทำการจุดไฟได้เหมือนกัน

3. การสร้างที่กำบังชั่วคราว

การสร้างที่กำบังชั่วคราว ก็เพื่อไว้ใช้ในการป้องกันตัวเองจากสิ่งอันตรายต่างๆ รอบตัว สภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งในปัจจุบันการที่เราจะสร้างที่กำบังนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ แต่เราก็มี 2 วิธีง่ายๆ มาแนะนำในการสร้างที่กำบังชั่วคราว

เอามาแนบหรือพิงกัน

เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ง่ายที่สุด และประหยัดที่สุดในการสร้างที่กำบังชั่วคราว โดยเราจะมองหาโครงสร้างที่แข็งแรง และมีอยู่ก่อนในธรรมชาติ เช่น กำแพงหินที่มีลักษณะเรียบ ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีการหักโค่นแล้ว หลังจากนั้นเราก็หาไม้ที่มีลักษณะเรียวยาวมาวางพาดกัน 3 อันและพิงไปกับหินหรือต้นไม้ที่เรามองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งข้อเสียขอการสร้างที่กำบังลักษณะนี้คือ ในส่วนของพื้นนั้นไม่สามารถที่จะป้องกันอันตรายได้ทั้งหมด โดยเฉพาะฐานของที่กำบังนอกจากเราจะหาผ้าหรือถุงขยะที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้มาวางรองไว้

กระท่อมหรือบ้านพักในป่า

เป็นรูปแบบโครงสร้างที่พัฒนาต่อยอดมาจากแบบที่เอาไม้มาแนบหรือพิงกัน ซึ่งรูปแบบนี้จะสร้างโดยการที่เอาไม้ขนาดใหญ่มาวางพิงเข้าด้วยกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสร้างที่นานและวัสดุอุปกรณ์ต้องใช้เยอะ แต่ก็ข้อดีก็คือมีความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น และนอกจากจะปกป้องเราจากสถานการณ์ที่เลวร้ายจากภายนอก ยังสามารถที่จะเป็นที่เก็บอาหาร หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้พ้นจากสัตว์ที่ซากและกินเนื้อเป็นอาหาร นอกจากนี้ก็ยังมีรูปแบบกระท่อมที่แตกต่างกันไปตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น กระท่อมหิมะ (Igloo) ถ้ำน้ำแข็ง เป็นต้น
และก็มีสิ่งที่เพื่อนๆ ควรที่จะระวังในการที่สร้างหรืออาศัยในกระท่อมหรือบ้านพักในป่า

  • กรณีที่ 1 ถ้าหากเป็นกระท่อมไม้ ก็ไม่ควรก่อกองไฟใกล้กับที่อยู่อาศัย
  • กรณีที่ 2 ไม่ควรสร้างกระท่อมใกล้กับแหล่งน้ำ หรือดินที่มีลักษณะนิ่มคล้ายโคลน
  • กรณีที่ 3 สร้างกระท่อมหรือที่พักอาศัยให้ไกลจากแหล่งที่มีผู้ล่า โดยสังเกตจากรอยเท้าสัตว์
  • กรณีที่ 4 ควรที่จะมีฐานรองของกระท่อม หรือพื้นของที่พักเพื่อที่ป้องกันแมลง สิ่งสกปรกบนพื้นดิน และน้ำที่นองบนพื้น

4. การหาเส้นทางและความสามารถในการอ่านแผนที่และเข็มทิศ

ถ้าหากเราได้ไปเดินอยู่ในอุทยานแห่งชาติ หรือป่าซักแห่งหนึ่งแล้วเกิดหลงทาง ไม่สามารถหาเส้นทางหรือสัญลักษณ์ในการเดินกลับไปที่ทางออกได้เราจะทำอย่างไร นั่งรอ ตะโกนจนกว่าจะมีคนมาช่วย ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เราสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์แบบนี้ได้ คือการที่เราจะรู้วิธีหาเส้นทาง ตำแหน่งทางออกจากที่เราอยู่ได้อย่างไร โดยมีวิธีง่ายๆ มาแนะนำเพื่อให้เพื่อนๆ นำไปใช้ได้ในกรณีที่หลงทาง

ใช้พระอาทิตย์เป็นตัวนำทาง

เราสามารถใช้พระอาทิตย์เป็นตัวนำทางได้ ยกเว้นบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โดยดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกเสมอ นอกจากนี้เรายังมีวิธีง่ายๆ ในการสังเกตทิศโดยดูจากดวงอาทิตย์ ได้ดังนี้ หากไม้ที่มีลักษณะยาว เรียวปักลงในดิน และทำเครื่องหมายไว้ในบริเวณที่มีเงาของได้ตกลงบนดิน และก็รอดูว่าทิศทางของเงานั้นเคลื่อนที่ไปทางไหนต่อ แต่โดยปกติทิศทางของเงานั้นจะเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก

เดินตามทิศทางของน้ำ

ถ้าหากจะพูดถึงอารยธรรมของมนุษย์หรือสัตว์ต่างๆ นั้น มักจะก่อตั้งขึ้นหรืออาศัยอยู่บริเวณใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราพบแหล่งน้ำ ก็ให้ลองเดินตามลำน้ำไปก็อาจจะพบกับชุมชนหรือคนที่ช่วยเหลือเราได้ หรือถ้าหากเราไม่พบกับอะไรเลยอย่างน้อย เราก็สามารถที่จะพบกับแหล่งน้ำสะอาดที่สามารถดื่มได้ และถ้าหากมีขวดน้ำก็สามารถที่เติมน้ำใส่เพื่อเอาไว้ดื่มเวลาเราเดินทางต่อไปได้

การใช้เข็มทิศ

เราไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านหรือใช้เข็มทิศ เพียงแค่เราเข้าใจพื้นฐานของเครื่องมือนั้น (จะมีด้านหนึ่งของเข็มทิศที่ชี้ไปทางทิศเหนือตลอด) ก็สามารถช่วยให้เรารอดพ้นจากสถานการณ์เอาชีวิตรอดได้แล้ว นอกจากนี้ยังสามารถนำเข็มทิศมาใช้ประกอบกับการดูแผนที่ได้ด้วย แต่สิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากที่สุดของเข็มทิศก็คือ การที่สามารถทำงานได้ในเวลาที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆไม่สามารถใช้งานได้

5. การล่าสัตว์และการออกหาอาหาร

ในกรณีที่เราต้องอยู่ในสถานการณ์เอาชีวิตรอดเป็นระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ซึ่งจะต้องเรียนรู้วิธีการหาอาหารเพื่อดำรงชีวิตอยู่ โดยจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในการหาอาหาร ซึ่งเราจะแนะนำเพื่อนๆ บางวิธีที่สามารถใช้ในการหาอาหารภายในป่า

การล่าสัตว์

ถ้าหากเรามีความสามารถในการสร้างอาวุธโดยการเหลาไม้ให้มีลักษณะแหลมและแข็งแรง ซึ่งประโยชน์ของอาวุธนี้คือ เราสามารถใช้ในการจับสัตว์ขนาดเล็กหรือปลาได้ นอกจากนี้ก็มีข้อเสียคือเราอาจจะต้องใช้พลังงานอย่างมากในการไล่ตามจับสัตว์เพื่อให้ได้มาเป็นอาหาร แต่ถ้าหากเทียบกับการล่าสัตว์ใหญ่ก็คุ้มกว่ากันเยอะ เพราะการล่าสัตว์ใหญ่นอกจากจะเหนื่อยกว่าแล้ว ยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บอีกด้วย

การวางกับดัก

มีรูปแบบมากมายหลายชนิดในการที่เราจะสร้างกับดักขนาดเล็ก โดยเราอาจจะประดิษฐ์ขึ้นจากสิ่งที่เรามีอยู่หรือสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว โดยเราอาจจะดูวิธีการสร้างกับดักจาก หนังสือคู่มือของ The Art of Manliness ในเรื่องการสร้างกับดักขนาดเล็ก (How to build a small game survival snare) โดยการสร้างกับดักนั้นเพื่อนๆ จะต้องมีความอดทน และทักษะในการประดิษฐ์ แต่รับรองว่าเราจะไม่ต้องออกแรงในการล่าสัตว์ให้เหนื่อยเลยแหละ

การตกปลา

หาบางอย่างที่สามารถใช้เป็นเบ็ด หรือตะขอตกปลาได้ และก็หาเหยื่อติดที่ปลายตะขอ หลังจากนั้นเราก็เอาไปหย่อนไว้ในแม่น้ำ และก็รอจนกว่าเราจะสามารถจับปลาได้ แต่เราก็ต้องนึกไว้เสมอว่า สถานที่ที่มีความหลากหลายของปลามาก ก็ผู้ล่าขนาดใหญ่อยู่ในแหล่งน้ำนั้นเช่นกัน

การออกหาอาหาร

พืชท้องถิ่นนั้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีมากมายมากจนทำให้เรานั้นประหลาดใจ และเกิดความสงสัยว่าแบบไหนที่ทานได้ หรือว่าทานไม่ได้ โดยเราต้องอยู่ให้ไกลจากพืชที่มีลักษณะเป็นพืชที่มีชื่อเสียงว่าสามารถเป็นพิษได้ เช่น เห็ด เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เพื่อนๆ จะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ใดก็ควรจะศึกษาพืชท้องถิ่นของที่นั้นๆ ไว้ด้วย

6. การปรุงอาหาร

ถึงแม้เราจะชำนาญในการใช้ชีวิตในป่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทานอาหารดิบๆได้ เพราะว่าเราจะเสี่ยงกับการได้รับปรสิตเข้าไปในร่างกายและเชื้อโรคที่มากับเนื้อสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้ทั้งการปรุงอาหารจากเนื้อสัตว์ และการทานอาหารอย่างปลอดภัย และนี่ก็เป็นบางวิธีที่เราสามารถทำตามได้

เอาเครื่องในหรือไส้ในออกให้หมด

กรณีที่เราอยู่ในป่านั้น การที่เรากินเนื้อสัตว์ป่าแบบไม่เอาเครื่องในออกนั้นอันตรายมาก โดยเฉพาะทางเดินอาหารของสัตว์ เพราะว่าอันตรายอย่างน้อยที่สุดที่เราจะเป็นก็คือ การเป็นโรคท้องร่วงและก็อาจจะมีเศษหิน ดิน หรือกระดูกในลำไส้ของสัตว์ที่เราทานเข้าไปมาทิ่มกระเพราะหรือลำไส้ของเราได้ ซึ่งอาจะส่งผลให้เราเสียชีวิตได้เลย

ใช้เวลาในการปรุงอาหารให้นานกว่าปกติ

การที่เราปรุงอาหารจนไหม้นั้นอาจจะทำให้อาหารของเรามีความเหนียวมากขึ้น และความอร่อยของอาหารลดลง แต่ว่ามันก็มีข้อดีในเรื่องของการช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในเนื้อสัตว์ป่า เพราะฉะนั้นถ้าเลือกได้ควรเลือกที่จะทำเนื้อแดดเดียวไว้กินระหว่างทางหรือหาทางออกจากป่า

กำจัดขยะหรือของเสียออกไปให้ไกล

แม้จะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบอาหาร แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เราควรจะนึกไว้เสมอว่าเพื่อความปลอดภัยจากสัตว์ที่อยู่ในป่า หลังจากประกอบอาหารและทานอาหารเสร็จก็ควรที่จะนำขยะไปทิ้งให้ไกลจากที่พัก หรือฝังดินแต่เราต้องแน่ใจว่าไม่มีกลิ่นหรือเศษอาหารหลงเหลืออยู่ เพราะว่าสัตว์ป่าจะได้กลิ่นและเดินตามมายังที่พักของเราได้ เราคงไม่อยากเจอสิงโตมายืนอยู่หน้าที่พักเราหรอกนะ

7. การตกแต่งแผล

การที่เราได้รับบาดเจ็บในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรงมาก แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถรับมือ หรือจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในการที่เราหรือคนอื่นได้รับการบาดเจ็บจากบาดแผลลึก กระดูกหัก หรือเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ซึ่งเราได้นำวิธีการในการดูแลหรือการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นมาแนะนำ

ปิดบาดแผล

หากเรามีบาดแผลที่เปิดนั้น จะเป็นช่องทางให้แบคทีเรียหรือเชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกายได้ง่าย และก็จะทำให้แผลติดเชื้อ ดังนั้นเราควรที่จะดูแลแผลของตัวเองให้ดีที่สุด โดยการทำความสะอาดแผล (เราสามารถใช้แอลกอฮอล์ในการล้างแผลได้) และก็ปิดปากแผลให้สนิท ซึ่งอาจจะมีวิธีการในการรักษาที่แตกต่างกันในหลายวิธี เช่น การใช้ผ้าพันแผลแบบผ้าหรือผ้าพันแผลแบบฆ่าเชื้อโรคแล้ว หรือถ้าหากเป็นกรณีฉุกเฉิน เราก็อาจจะใช้ไฟรนแผลเพื่อให้ปากแผลปิด ป้องกันไม่ให้เลือดไหล

ผ้าพันแผลเป็นอะไรที่สมเหตุสมผลแล้ว

การที่เราจะใช้ผ้าพันแผล เราจะต้องแน่ใจว่าผ้าพันแผลนั้นได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว และได้ปิดลงบนแผลสดแบบสนิท และถ้าหากเป็นไปได้เราก็ควรที่จะเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ เพราะว่าผ้าพันแผลที่สกปรกจะส่งผลให้แผลนั้นติดเชื้อได้เร็วขึ้น ส่วนเครื่องห้ามโลหิตหรือสายรัดโลหิตมักจะใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เลือดไหลออกมามากและมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง เนื่องจากจะเป็นการรัดที่แน่นมาก จนอาจจะทำให้อวัยวะนั้นเสียหายได้ เพราะฉะนั้นควรจะใช้เป็นตัวเลือกสุดท้าย

8. ฝึกผูกเงื่อนและขมวดเชือกให้เป็น

เราอาจจะมองว่าทักษะการผูกเชือกเป็นทักษะที่ไม่ค่อยสำคัญ แต่จริงๆ แล้วทักษะนี้สำคัญมากถ้าหากเรานำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์เอาชีวิตรอด โดยหากเราได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม ก็สามารถที่จะนำมาใช้กับการสร้างที่กำบัง การทำกับดักล่าสัตว์ การทำสายเบ็ดตกปลา หรือผ้าพันแผลได้ แต่สิ่งที่สำคัญของการผูกเงื่อนคือเราจะต้องรู้ว่าเงื่อนแต่ละชนิดมีหน้าที่และวิธีใช้ในสถานการณ์ใด ซึ่งเราแนะนำว่าอย่าน้อยที่สุดเพื่อนๆ ควรที่จะรู้วิธีการผูกเงื่อน 3 ประเภทต่อไปนี้ 1. Clove-hitch 2. Square 3. Bowline เพราะเอาไว้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook