สธ. และ ศธ. ทดสอบแผนเรียนสู้โควิด 20 คนต่อห้อง ห้องเรียนคู่ขนานออนไลน์และห้องเรียนจริง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เตรียมความพร้อมถึงการเปิดเทอม โดยได้ร่วมมือก่อน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทำคู่มือการเปิดภาคเรียนที่ควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยแบ่งออกเป็น 6 ข้อย่อยๆ ได้แก่
คู่มือการเปิดภาคเรียนที่ควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19
- ความปลอดภัยจากการแพร่การแพร่เชื้อโรค
- การเรียนรู้อาจจะต้องทำรูปแบบผสมผสาน ทั้งเรียนที่ห้องเรียนและออนไลน์ เด็กทุกคนต้องฝึกการดูแลตัวเอง เช่น รับประทานอาหารอย่างไร เข้าแถวอย่างไร ใช้หน้ากากอย่างไร เป็นต้น
- ต้องคำนึงถึงเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มาโรงเรียนตามปกติ
- สวัสดิภาพและการคุ้มครอง กรณีเจ็บป่วยหรือครอบครัวมีคนป่วย ทำอย่างไรให้เด็กได้รับการดูแล ได้รับความเข้าใจ ไม่ถูกเพื่อนรังเกียจ
- ออกแบบนโยบายลงลึกในระดับพื้นที่ ระดับโรงเรียน ทั้งการบริหารจัดการจัดชั้นเรียนใหม่ เติมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้เด็กเพิ่มเติม จัดจุดล้างมือเพิ่ม โรงอาหารต้องทำฉากกั้นเพื่อให้เด็กใช้งานได้ ฯลฯ
- บริหารการเงิน เพราะการจัดชั้นเรียนใหม่ เติมอุปกรณ์จำเป็นที่มากขึ้น ต้องวางแผนบริหารทรัพยากรก่อนเปิดเรียน
นอกจากนั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังได้นำร่อง ทดลองเปิดเรียน ร.ร.อนุบาลย่านสุขุมวิท เว้นระยะห่าง 1 เมตร จากเด็ก 40 คนต่อห้อง ลดเหลือ 20-25 คนต่อห้อง รวมถึงออกแบบการเรียนแบบคู่ขนาดเรียนออนไลน์ ผลัดกันมาเรียน ต้องเพิ่มล้างมือ หมุนเวียนไม่ให้แออัดโรงอาหาร เพื่อทำแผนเปิดเรียนในอนาคต
โดยมาตรการของโรงเรียนที่ทดลองเปิดเรียนนั้นจะมีดังนี้
- มีการคัดกรองวัดไข้ก่อนเข้าสถานศึกษา
- เด็กให้ความร่วมมือในการสวมหน้ากาก แต่มีความอึดอัดบ้าง
- การล้างมือ จากเดิมเฉพาะก่อนกินอาหาร ก็เพิ่มล้างมือก่อนเข้าห้องเรียน ก่อนหลังแปรงฟัน และเมื่อเปลี่ยนกิจกรรม
- การเว้นระยะห่าง เฉลี่ย 1 ห้องเรียนเด็กมี 40 คน เมื่อทดลองเว้นระยะห่าง 1 เมตร เด็กต่อห้องเหลือ 20-25 คน แปลว่า มีเด็กอีกครึ่งหนึ่งไม่สามารถใช้ห้องเรียนกับเพื่อนช่วงเดียวกันได้ ต้องไปออกแบบการเรียนการสอน เช่น จัดพื้นที่ชั่วคราวเพื่อเรียนคู่ขนาน หรือเรียนออนไลน์ หรือผลัดกันมาเรียน เป็นต้น
- ทำความสะอาดเพิ่มในจุดสัมผัสร่วมกัน พื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกัน
- ลดความแออัด จัดกลุ่มนักเรียนให้หมุนเวียนการใช้งานไม่ให้ทำพร้อมกัน รวมโรงอาหารก็จัดหมุนเวียนให้พอเหมาะ บางกิจกรรมต้องยกเลิก บางกิจกรรมต้องออกแบบใหม่ เช่น การแข่งขันรวมเด็กเข้าไปในห้องประชุม