ประวัติการเหยียดผิวในอเมริกา ถึงเวลาผ่านไปกว่า 50 ปีแต่พี่น้องผิวสียังต้องสู้กันต่อไป
ถ้ายจะย้อนกลับไป การแบ่งแยกคนต่างเชื้อชาติในประเทศแอฟริกาใต้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม แต่การกำหนดเป็นนโยบายแยกคนต่างผิวออกจากกันนี้ได้เป็นนโยบายของรัฐหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1948 โดยแบ่งแยกพลเมืองในประเทศออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้แก่ พวกผิวดำ ผิวขาว ผิวสี และพวกอินเดีย ที่อยู่อาศัยของประชาชนจะต้องจัดแบ่งแยกกันและถูกบังคับให้โยกย้าย ชนผิวดำถูกกีดกันออกจากสถานะความเป็นพลเมือง ราวหนึ่งในสิบแยกตัวออกไปปกครองตนเอง เรียกว่า บันตูสถาน (Bantustan) ในจำนวนนี้มีการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ 4 แห่ง การแบ่งแยกของรัฐบาลรวมไปถึงการกำหนดการศึกษา การรักษาพยาบาล บริการสาธารณะต่างๆ โดยที่คนผิวดำจะได้รับบริการที่ด้อยกว่าคนผิวขาว
การแบ่งแยกผิวนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศอย่างรุนแรง กลายเป็นการลุกฮือ ประท้วง และต่อต้านติดต่อกันจำนวนมาก ซึ่งถูกรัฐบาลสั่งปราบปรามและจำคุกบรรดาผู้นำขบวนการต่อต้านการแบ่งแยกผิวนี้เป็นจำนวนมาก ยิ่งการต่อต้านแผ่กระจายวงกว้างออกไปและรุนแรงขึ้นเพียงใด ฝ่ายปกครองก็ยิ่งตอบโต้ด้วยการกดดันและใช้กำลังรุนแรงมากขึ้นปานกัน
จุดที่ทำให้มีการจุดประกายการต่อสู้สิทธิของชนกลุ่มน้อยทั่วโลก
เหตุการณ์ในปี 1955 ที่หญิงผิวสี โรซา พาร์คส์ ถูกจับเนื่องจากปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์เมืองมอนต์กอเมอรีให้กับชายผิวขาว เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่คุกรุ่นอยู่แล้วเกิดร้อนระอุขึ้นมา จึงทำให้คนผิวดำในมอนต์กอเมอรีออกมาบอยคอตรถโดยสารประจำทาง ซึ่ง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ในฐานะบาทหลวงได้เป็นสื่อกลางที่เรียกฝูงชนเข้าร่วมประท้วงอย่างสงบ ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านการแบ่งแยกชนชั้นและสีผิว ท้ายที่สุดศาลสูงสุดตัดสินให้การแบ่งแยกที่นั่งโดยสารบนรถประจำทางสาธารณะเป็นเรื่องขัดต่อกฎหมาย
หลังจากประสบความสำเร็จในการต่อสู้ครั้งนั้น มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เริ่มกลายเป็นนักเทศน์เคลื่อนที่และผู้นำชนคนกลุ่มน้อยผิวดำ เขาสามารถชนะใจใครต่อใครได้ง่ายๆ ด้วยเสน่ห์และสุ้มเสียงที่อบอุ่นของเขา
ในวันที่ 4 เมษายน ปี 1968 มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ถูกปิดฉากนักต่อสู้เพื่อสิทธิของคนผิวดำในอเมริกา ด้วยกระสุนปืนนั้นก็ทำให้ การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของคนผิวดำแข็งแรงยิ่งขึ้น
สิ่งที่เขาทิ้งเอาไว้นั่นก็คือสุนทรพจน์ ที่เป็นพลังให้คนที่ถูกแบ่งแยกในสังคมในอเมริกันและทั่วโลกมีพลังในการต่อสู้
ข้าพเจ้ามีความฝันว่าสักวันหนึ่งลูกหลานของอดีตทาส และลูกหลานของอดีตผู้ครอบครองทาส จะมีโอกาสมานั่งร่วมโต๊ะฉันพี่น้องบนเนินเขาสีแดงแห่งรัฐจอร์เจียร่วมกัน ข้าพเจ้ามีความฝัน ว่าสักวันหนึ่งลูกๆ ทั้งสี่คนของข้าพเจ้าจะได้ใช้ชีวิตในประเทศ ที่พวกเขาไม่ถูกตัดสินที่สีผิว แต่หากตัดสินที่การกระทำ
ประกายไฟครั้งใหม่ที่ทำให้พี่น้องผิวดำต้องลุกขึ้นมาอีกครั้ง
ถึงแม้ปี 1968 ที่ประธานาธิบดีจอห์นสันประกาศกฎหมายในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ เชื้อชาติและศาสนา หลังจากการเสียชีวิตของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ก็ตาม เวลาก็ผ่านมามากกว่า 52 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนว่าสังคมผิวดำของอเมริกันก็ยังต้องต่อสู้เพื่อสิทธิความเสมอภาคกันอยู่ และในปี 2020 นั้นเรื่องก็ชนวนความเจ็บปวดของชาวผิวดำก็เกิดขึ้นอีกครั้งหลังการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ผู้เสียชีวิตจากการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของตำรวจเมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตาของสหรัฐ จนขาดอากาศหายใจขณะควบคุมตัว และกลายเป็นกระแสวิจารณ์ไปทั่วประเทศ
ทั้งนี้ คลิปวิดีโอของเหตุสะเทือนใจของ จอร์จ ฟลอยด์ ให้หลายคนหวนนึกถึงเหตุการณ์คล้ายคลึงกัน ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2014 เมื่อเอริก การ์เนอร์ ชายผิวสีไร้อาวุธ เสียชีวิตระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กล็อกคอเพื่อควบคุมตัว
โดยประโยค ผมหายใจไม่ออก ซึ่งเป็นคำร้องขอของการ์เนอร์ และฟลอยด์ กลายเป็นเสียงปลุกระดมการประท้วงต่อต้านการปฏิบัติหน้าที่อันไม่ถูกต้องชอบธรรมของตำรวจทั่วสหรัฐฯ