คำเป็น-คำตาย คืออะไร วิธีสังเกตคำเป็นคำตาย เพื่อใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
มาศึกษากันหน่อยว่า คำเป็น-คำตาย มีหลักวิธีการจำยังไง ต้องสังเกตยังไง ถึงจะเข้าใจการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดย คำเป็น-คำตาย คือ การจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน
คำเป็น-คำตาย
คำเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว และสะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กง กน กม เกย เกอว
วิธีจำ คำเป็น
ท่องว่า “นมยวง” คือมีตัวสะกดในมาตราแม่ กน กม เกย เกอว กง และจะประสมด้วยเสียงยาว ไม่มีตัวสะกด
คำตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น และสะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กก กด กบ
วิธีจำ คำตาย
ท่องว่า “กบด” มีตัวสะกดในมาตราแม่ กก กบ กด ประสมด้วยสระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด
คำเป็น-คำตาย ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อนำมาผันวรรณยุกต์จะยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังเช่นกรณีของคำว่า คะ/ค่ะ ที่หลายคนมักเขียนผิดกันอยู่บ่อย ๆ
- “คะ” เป็นคำตาย (สระเสียงสั้น) รูปสามัญ แต่เป็นเสียงตรี (คะ-จ๊ะ)
- “ค่ะ” เป็นคำตาย (สระเสียงสั้น) รูปเอก แต่เป็นเสียงโท (ค่ะ-จ้ะ)
- “คา” เป็นคำเป็น (สระเสียงยาว) รูปสามัญ เสียงสามัญ (คา-จา)
- “ค่า” เป็นคำเป็น (สระเสียงยาว) รูปเอก เสียงโท (ค่า-ป้า)