คำพ้องรูป พ้องเสียง คืออะไร เขียนเหมือน อ่านเหมือน แต่ความหมายไม่เหมือน
คำพ้อง
คำพ้อง คือคำที่มีการเขียนหรืออ่านออกเสียงเหมือนกัน แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกันและมีความหมายต่างกัน ในการอ่านจึงต้องระวัง การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงตามเจตนาของสารต้องอาศัยบริบท
คำพ้องรูป มี 3 ลักษณะ คือ
- เขียนเหมือนกัน
- ออกเสียงต่างกัน
- ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง คำพ้องรูป
- แหน
แหน (หน + แ-) ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
แหน (ห + แ- + น) ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง - สระ
สะ แอ่งน้ำ
สะ - หระ ตัวอักษรที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ - เพลา
เพลา แกนสำหรับสอดในดุมรถ
เพ - ลา เวลา - แขม ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง
ขะ - แม ชาวเขมร - ปักเป้า
ปัก - เป้า ว่าวชนิดหนึ่ง
ปัก – กะ - เป้า ว่าวชนิดหนึ่ง
คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
คำพ้องเสียง มี 3 ลักษณะ คือ
- อ่านออกเสียงเหมือนกัน
- เขียนต่างกัน
- ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง คำพ้องเสียง
- จัน ผลไม้ที่สุกเหลืองหอม
จันทน์ ต้นไม้ที่มีเนื้อ ดอก และผลมีกลิ่นหอม
จันทร์ ดวงเดือน ชื่อวันลำดับที่ 2 ของสัปดาห์
จรร วามประพฤติ - โจษ เล่าลือ กล่าวขาน
โจทก์ ผู้ฟ้อง ผู้กล่าวหา
โจทย์ คำถามในวิชาเรียน - พัน จำนวน 10 ร้อย หรือมัดโดยรอบ เกี่ยวข้องกัน
พันธ์ ผูกมัด
พันธุ์ เชื้อสาย เหล่าก่อ
พรรณ สีผิว ชนิด
ภัณฑ์ สิ่งของ - สัน แนวที่สูงขึ้น
สันต์ แนวที่สูงขึ้น
สรร คัด เลือก
สรรค์ สร้าง
สัณฑ์ ป่า
คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เเต่มีความหมายหลายอย่างเเล้วเเต่จะนำไปใช้
คำพ้องทั้งรูปและเสียง มี 3 ลักษณะ คือ
- เขียนเหมือนกัน
- อ่านออกเสียงเหมือนกัน
- ความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง
- ขัน ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ, ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าไป เช่น ขันนอต, อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่, หัวเราะ รู้สึกตลก
- แกะ ชื่อสัตว์ 4 เท้า ประเภทหนึ่ง, เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก