การเขียนคำนำรายงาน เขียนอย่างไรจึงจะเรียกว่าถูกต้อง

การเขียนคำนำรายงาน เขียนอย่างไรจึงจะเรียกว่าถูกต้อง

การเขียนคำนำรายงาน เขียนอย่างไรจึงจะเรียกว่าถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดย ยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไปก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อ ส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้างหรือพูดถึง เฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์กับใครที่จะได้มาอ่าน บทความนี้ และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น

ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า

  • เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
  • เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง
  • เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ
  • เขียนด้วยการเล่าเรื่อง
  • เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ
  • เขียนด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง
  • เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน
  • เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน

ตัวอย่างคำนำ

ตัวอย่างที่ 1

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
วันที่…………….

ตัวอย่างที่ 2


คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ๕๐๔ ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องลิลิตะเลงพ่าย ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จากตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้งทัพ การเคลื่อนทัพ กลศึกต่าง ๆ โหราศาสตร์ในการทำสงคราม ตลอดจนการประยุกต์ใช้ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการรบของพระองค์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผู้จัดทำได้เลือก หัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นการเทิดพระเกียรติวีรกษัตริย์ไทย และ ความฉลาดของบรรพบุรุษ ผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษาเพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

ชื่อผู้จัดทำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook