6 วิธีที่ใช้รับมือกับความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการทำงาน

6 วิธีที่ใช้รับมือกับความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการทำงาน

6 วิธีที่ใช้รับมือกับความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีกำจัดความเครียดง่ายๆ ที่เริ่มจากตัวเรา ลองเอาไปทำตามดู เพราะว่าใครๆ ก็สามารถทำได้

106087789_626644664867783_581

1. Understand the triggers (เข้าใจถึงสิ่งที่มากระตุ้นที่ทำให้เรารู้สึกเครียดกับงาน)

เมื่อเราเริ่มรู้สึกว่าเครียดกับงานที่ทำมากจนเกินไป สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเราจะต้องรู้ให้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุของความเครียด เช่น เรารับผิดชอบงานมากเกินไปรึเปล่า มีเวลาพักน้อย หัวหน้ากดดัน หรือว่าวัฒนธรรมองค์กรทำให้เรากดดัน

เพราะว่าความรู้สึกเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้น เกิดจากการที่เราคาดหวังกับงานมากจนเกินไป เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเราได้ ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็คือเราจะต้องคิดทบทวนถึงสาเหตุของปัญหาและการกระทำนั้น เพื่อที่จะช่วยให้เรารับมือการปัญหาและจัดการกับความเครียดนั้นได้

2. Don’t suffer in silence (ถ้าหากรู้สึกว่าเครียดก็อย่าเก็บไว้คนเดียว)

ถ้าหากเรารู้สึกเครียดกับงานที่ทำ อีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจคือการที่เราได้ไปคุยกับหัวหน้าของเรา ซึ่งบางทีอาจจะดูเป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่ถ้าหากเรามีการเตรียมหรือวางแผน เช่น อธิบายถึงงานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดระยะเวลาส่ง ทรัพยากรที่มีในการทำงาน หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ก่อนเข้าไปปรึกษาหัวหน้าของเราก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนี้ในช่วงที่เราเข้าไปพบกับหัวหน้าของเรา เราก็ควรที่จะมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และทำให้หัวหน้าของเราเห็นว่าเราได้ทุ่มเทการทำงานอย่างเต็มที่

ซึ่งจุดนี้เองที่จะทำให้หัวหน้าของเรานั้นเห็นว่า เราได้รับมอบหมายให้ทำงานอะไรบ้าง โดยถ้าหากเรามีหัวหน้าที่ดี เขาก็จะให้คำแนะนำการทำงานกับเราได้ แต่ถ้าหากเราเจอหัวหน้าที่ไม่ดี ให้งานเราหนักจนเกินไป ไม่สนใจลูกน้อง เราก็อาจจะมีการรวมตัวกัน หรือส่งตัวแทนไปพูดคุยกับฝ่ายที่ดูแลในเรื่องสวัสดิการของพนักงานในบริษัท เพื่อขอความช่วยเหลือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

3. Learn to say no (เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ)

การเรียนรู้ที่จะปฏิเสธ ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันหรือว่าการทำงานได้ เพราะบ่อยครั้งที่คนส่วนใหญ่ ไม่กล้าปฏิเสธและตอบตกลงในทุกๆเรื่องเพราะว่าเราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าการปฏิเสธหรือการไม่ทำตามกฎจะมีการลงโทษ ถ้าหากมองในแง่ของการทำงาน การที่เราปฏิเสธก็อาจจะทำให้เราถูกมองไม่ดี และไม่ได้รับความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

แต่ในบางครั้งการปฏิเสธก็มีข้อดีเช่นกัน ยกตัวอย่าง กรณีที่มีภาระงานที่มาก และกำลังจะต้องส่งงาน แต่เพื่อนมาขอความช่วยเหลือ การปฏิเสธนั้นไม่ใช่เป็นการแสดงว่าเราไม่มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือ แต่เป็นการแสดงถึงว่าเรามีภาระงานที่ต้องทำเช่นกัน หรือรวมถึงงานอื่นๆ ถ้าหากเรามองว่างานนั้นมีความเสี่ยงและอาจเกิดความล้มเหลวได้ในอนาคต เราก็อาจจะหยุดและลองประเมินความเสี่ยงและความน่าจะเป็นก่อนที่จะดำเนินงานต่อไป

4. Put things into perspective (พยายามมองในมุมมองใหม่ๆ)

การเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับการทำงาน ในบางครั้งสามารถที่จะช่วยบรรเทาความกดดันลงได้ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต คือ เราจะต้องสามารถควบคุมอารมณ์และรับมือกับความเครียดของเราให้ได้ ยกตัวอย่าง หากเรารู้สึกเครียดกับงานที่ทำงาน เมื่อถึงเวลาเลิกงาน เราก็ไม่ควรที่จะนำความเครียดนั้นกลับมาที่บ้านด้วย โดยให้คิดว่างานนั้นก็เป็นแค่งานเพียงส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ดังนั้นเมื่อถึงบ้านก็พยายามไม่เช็กอีเมล และปิดเสียงโทรศัพท์ โดยใช้เวลาอยู่กับงานที่เราชอบทำหรือผ่อนคลาย เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

5. Take breaks and relax (หาเวลาพักและผ่อนคลายบ้าง)

การที่เรารู้สึกเครียดจนเกินไปนั้น จะทำให้ร่างกายของเราเข้าสู่สภาวะตึงเครียด ซึ่งจะไปปิดกั้นกระบวนการนึกคิด

เพราะฉะนั้นในระหว่างที่เราทำงาน ก็ควรที่จะมีเวลาพักผ่อนจากการทำงานด้วย เพราะว่าการทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่ได้พักนั้น จะทำให้การสมองของเรานั้นล้า และทำให้กระบวนการในการทำงานของเรานั้นช้าลงไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลลัพธ์ความผิดพลาดที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย หรือในบางครั้งถ้าเราเครียด เราก็จะกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย ซึ่งก็จะทำให้การนอนของเรานั้นไม่ดีและส่งผลเสียต่อสุขภาพ

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการที่เราจะต้องหาเวลาพักระหว่างการทำงานให้กับตัวเองบ้าง ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญพอๆกับ การที่เราต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเราให้ดี

6. Move on (ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า)

ถ้าหากว่าเรากำลังรู้สึกท้อ หรือเหนื่อยจากการที่จากการทำงาน รู้สึกว่าจะต้องต่อสู้ ดิ้นรน พยายามตลอดเวลา การมองหางานใหม่ๆ ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะการที่เราคิดว่างานที่เราทำอยู่นั้นไม่ได้ทำให้เราป่วย หรือเศร้า แต่ว่าความรู้สึกท้อก็จะทำให้เราเป็นคนที่ค่อยๆหมดไฟ และยากที่จะไปหางานใหม่หรือทำสิ่งใหม่ๆ และการที่เราจะหางานใหม่สิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษาหรือเรียนรู้ คือ วัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ว่าเราสามารถยอมรับได้หรือไม่ และถ้าหากมีอะไรสงสัยก็ควรที่จะสอบถามผู้ที่สัมภาษณ์เราถึงการทำงานว่าเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการตัดสินใจของเราในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook