คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาย่อยอะไรบ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาย่อยอะไรบ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาย่อยอะไรบ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะวิศวกรรมศาสตร์นั่นถือว่าเป็นคณะที่ได้รับความนิยมในการเข้าเรียนของนักศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะว่าการสอนของคณะนี้จะเน้นการสอนที่นำความรู้ไปประกอบการทำงานและใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ซึ่งภายในวิศวกรรมศาสตร์ก็แบ่งเป็นสาขาย่อยๆ ให้เราได้เลือกเรียนอีก ในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจกันว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร และมีสาขาย่อยอะไรบ้าง

คณะวิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้

วิศวกรรมเหมืองแร่

เรียนรู้ความสำคัญของแร่ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงอุตสาหกรรมก่อสร้าง พลังงาน เชื้อเพลิง และเครื่องประดับ พร้อมลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหา ขุดแยก และจัดการกับแร่ธาตุ จากแหล่งธรรมชาติเพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

เรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงคุณภาพของของเสีย ฯลฯ

วิศวกรรมโยธา

เรียนตั้งแต่การเขียนแบบวิศวกรรม การประเมินว่าขึ้นที่นั้นๆ มีความจำเป็นจะต้องมีสิ่ง ก่อสร้างหรือไม่ และต้องเลือกใช้วัสดุขนาดใดในการก่อสร้าง หรือมีแนวทางในการก่อสร้างอย่างไรที่กระทบต่อผู้คนโดยรอบน้อยที่สุด

วิศวกรรมอุตสาหกรรม

เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาระบบงานภายในโรงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย การสังเกต ใน 2 มิติหลัก คือ การจัดสรรทรัพยากรการผลิต และ เพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิต ผลิตอย่างไรให้ สามารถลดของเสียจากการผลิตจากอุตสาหกรรมได้มากที่สุด

วิศวกรรมไฟฟ้า

เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์-ออกแบบ-ผลิตระบบไฟฟ้าตามครัวเรือน อาคารสำนักงานและโรงงาน การควบคุม วงจรไฟฟ้าในระบบการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้งดาวเทียม และอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

วิศวกรรมเครื่องกล

เรียนเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร การศึกษาการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนเครื่องจักร การถ่ายเทพลังงานความร้อน การวิเคราะห์การสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ และหุ่นยนต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook