บัญชี และ การเงิน ต่างกันอย่างไร สองสาขานี้เรียนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง

บัญชี และ การเงิน ต่างกันอย่างไร สองสาขานี้เรียนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง

บัญชี และ การเงิน ต่างกันอย่างไร สองสาขานี้เรียนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราเชื่อว่าหลายๆ คนอาจมีข้อสงสัยว่า เรียนบัญชี กับ เรียนการเงิน แตกต่างกันตรงไหน รวมไปถึงบางคนอาจจะคิดว่าสองสาขานี้คือเรียนเหมือนกันแต่แตกต่างกันแค่ชื่อเรียก ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองสาขา เรียกว่าแตกต่างกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน ตลอดจนถึงการที่จบมาแล้วนำความรู้ที่ได้มาประกอบอาชีพเลยด้วยนะ

วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจกับ บัญชี และ การเงิน กันซะหน่อย ว่าทั้งสองสาขานี้เขามีความแตกต่างกันอย่างไร และรวมไปถึงจบไปแล้วสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง

สาขาวิชาบัญชี

ศึกษาเกี่ยวกับหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี การจัดทำบัญชีการเงิน การวางระบบบัญชี การบัญชีกิจการอุตสาหกรรม ระบบบัญชีธนาคาร การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ การบัญชีสำหรับธุรกิจบริการโรงแรมอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง วิชาชีพการสอบบัญชี การตรวจสอบและควบคุมภายใน กฎหมายภาษีและการบัญชีภาษีอากร การวิเคราะห์รายงานการเงินและการบัญชีบริหาร การวิจัยทางการบัญชีตามข้อกำหนดของสภาวิชาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักบัญชีที่ทำงานเป็นวิชาชีพอิสระ
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต (CIA)
  • ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
  • ที่ปรึกษาด้านบัญชีและการเงิน
  • นักบัญชีที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • สมุห์บัญชี
  • ผู้จัดการฝ่ายบัญชี
  • ครู-อาจารย์สอนบัญชี
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

สาขาวิชาการเงิน

ศึกษาในเรื่องของการวิเคราะห์ การวางแผน และควบคุมการเงิน ระบบการจัดการด้านการเงินขององค์กรในรูปแบบต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน บริษัท รัฐวิสาหกิจ การบริหารสินเชื่อ บทบาทและความสำคัญของตลาดการเงิน สถาบันการเงินกับธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะทำให้มีทักษะในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน ของบริษัทหรือหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน มีความรู้ในการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานธุรกิจ และจัดการการเงินของตนเอง มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ ตลอดจนตราสารอนุพันธ์ต่างๆ

แนวทางการประกอบอาชีพ

สายการธนาคาร (Banking)

  • นักวิเคราะห์การเงิน (Financial Analyst)
  • นักวิเคราะห์สินเชื่อ (Credit Analyst)
  • นักวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Analyst)
  • นักการธนาคาร (Banker)

การเงินของบริษัท (Corporate Finance)

  • เจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Financial Officer)
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
  • ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking)

  • นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst)
  • วาณิชธนากร (Investment Banker)
  • ผู้ขายตราสารอนุพันธ์ (Derivative Trader)
  • นักวิเคราะห์ตราสารอนุพันธ์ (Derivative Analyst)

สายจัดการลงทุน (Fund Management)

  • ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)
  • ผู้จัดการกองทุนตราสารอนุพันธ์ (Derivative Fund Manager)
  • ที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Advisor)
  • นักวางแผนทางการเงิน (Financial planner)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook