"โคเคนรักษาฟัน" ได้จริงไหม ประวัติ การใช้โคเคน ทางการแพทย์
โคเคน หรือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของ ต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย
ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด
พิษโคเคนที่ส่งผลต่อร่างกาย
- มีลมในช่องอก เนื่องจากผู้ป่วยหายใจอย่างแรงเพื่อดูดซึมโคเคนได้มากที่สุด ทำให้ผนังช่องปอดฉีกขาด หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิต
- เป็นโรคไซนัสอักเสบ เลือดออกในจมูก และผนังกั้นในจมูกทะลุ
- น้ำหนักลดมาก โดยโคเคนกดสมอง ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร
- อาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และเสียชีวิต แม้อายุยังน้อย
- ใจสั่นหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
- มีอาการชัก แบบโรคลมบ้าหมู
กฎหมายยาเสพติดไทย
โคเคนถือเป็น ยาเสพติดประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป การครอบครองสารเสพติดในประเภทที่ 2 นี้อาจทำได้โดยถูกกฎหมายหากเป็นการครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์และในจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นการครอบครองที่ขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมายแล้วนั้นย่อมเป็นความผิด และมีโทษคือ โทษจำคุกขั้นสูง 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โคเคน ทางการแพทย์
ทางแฟนเพจ ห้องทำฟันหมายเลข 10 ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับ โคเคน ทางการแพทย์ไว้ว่า โลกนี้เคยใช้ โคเคนรักษาฟัน จริง แต่เคยใช้เมื่อ 150 ปีก่อน ตอนนี้ไม่มีใช้แล้ว โดยทางแฟนเพจ ห้องทำฟันหมายเลข 10 ได้อธิบายว่า
หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว) แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปีค.ศ. 1904
แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000) โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน
รวมไปถึงยังอธิบายถึงการตรวจโคโคนว่า ยาชาลิโดเคน ที่มีชื่อคล้ายคลึงกับโคโคนไม่สามารถทำให้ผลตรวจโคเคนผิดได้อีกด้วย
คนก็ยังอาจสงสัยยาชามันชื่อลงท้าย "เคน"เหมือนกัน(แต่จริงๆมันก็คนละโครงสร้างหละนะ) ถ้าไปฉีดยาชา "ลิโดเคน" ทำฟันมาจริงแล้วไปตรวจ "โคเคน" มันจะขึ้นผลหลอกว่ามีโคเคนหรือปล่าว (false positive) จากการวิจัยก็บอกว่า ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ครับ แปลว่าตรวจเจอโคเคนก็คือโคเคน อย่ามาโบ้ยยาชาที่รักของหมอฟันนะ