คณะมัณฑนศิลป์ เรียนอะไร แล้วจบไปสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

คณะมัณฑนศิลป์ เรียนอะไร แล้วจบไปสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

คณะมัณฑนศิลป์ เรียนอะไร แล้วจบไปสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะมัณฑนศิลป์ เป็นคณะวิชาลำดับที่ 4 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 "คณะมัณฑนศิลป์" มีที่ "มหาวิทยาลัยศิลปากร" ที่เดียว แต่ที่มหาวิทยาลัยอื่น มีเปิดสอนเกี่ยวกับด้านออกแบบที่หลากหลาย เพียงแต่ไม่ได้ชื่อ คณะมัณฑนศิลป์

คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น คณะฯ ได้เปิดสอนระดับปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ

หลักสูตร

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) (ปริญญาตรี)

  • สาขาวิชาการออกแบบภายใน
  • สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
  • สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
  • สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) (ปริญญาโท)

  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
  • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (ปริญญาเอก)

  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการออกแบบ
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม

การรับสมัครนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์

รอบที่ 1 การรับนักศึกษาด้วย Portfolio

  • โครงการที่ 1 โครงการรับผู้มีความสามารถด้านศิลปะการออกแบบและสนใจเข้าศึกษาคณะมัณฑนศิลป์
  • โครงการที่ 2 โครงการผู้มีความรู้ความสามารถดีเด่นด้านศิลปะและการออกแบบ

รอบที่ 2 การรับนักศึกษาระบบโควตา (Quota)

  • โครงการที่ 1 ประเภทโควตานักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
  • โครงการที่ 2 ประเภทโควตานักเรียนสายอาชีวศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะและการออกแบบ
  • โครงการที่ 3 ประเภทโควตา 28 จังหวัด มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • โครงการที่ 4 ประเภทโควตาผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วไทย
  • โครงการที่ 5 ประเภทโควตาผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะไทยโบราณ
  • โครงการที่ 6 ประเภทโควตาบุตรของผู้ปกครองที่เป็นเจ้าของสถานประกอบการอุตสาหกรรม หรือธุรกิจเครื่องประดับ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเกี่ยวกับด้านนี้

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ม.ธรรมศาสตร์
  • ม.เกษมบัณฑิต
  • ม.รังสิต
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ม.อัสสัมชัญ
  • ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอบเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook