ทันตแพทยศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
ทันตแพทยศาสตร์ (dentistry) เป็นสาขาวิชาที่ประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค ความผิดปกติ หรือภาวะในช่องปาก บริเวณใบหน้าขากรรไกร และ/หรือบริเวณใกล้เคียงและโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ บุคคลที่ประกอบอาชีพที่กระทำหัตถการดังกล่าวจะเรียกว่า ทันตแพทย์ (dentist)
ทันตแพทย์เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ผ่านการศึกษาและฝึกฝนจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยจะได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.) หรือเทียบเท่ากับ Doctor of Dental Surgery (DDS) สำหรับในต่างประเทศยังมีวุฒิการศึกษาอื่น ๆ ที่เทียบเท่า เช่น Doctor of Dental Medicine (DMD) , Bachelor of Dentistry (BDent) , Bachelor of Dental Science (BDSc) , หรือ Bachelor of Dental Surgery/Chirurgiae (BDS หรือ BChD) ในประเทศไทยนอกจากจะต้องผ่านการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปีแล้วจะต้องได้รับอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งออกโดยทันตแพทยสภา
ทันตแพทยศาสตร์ เรียนกี่ปี
ทันตแพทย์จะใช้เวลาศึกษา 6 ปี ซึ่งจะมีการศึกษาสาขาเฉพาะทาง ดังนี้
- สาขาปริทันตวิทยา ถ้าเรียนเฉพาะทางสาขานี้จะได้ลงลึกเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน ซึ่งเกิดมาจากแบคทีเรียและดูแลรักษาฟันไม่สะอาด จนเกิดคราบหินปูน เหงือกบวมแดง เหงือกร่น ฯล จะรักษาด้วย การขูดหินปูน การเกลารากฟัน เป็นต้น
- สาขาทันตกรรมหัตถการ กลุ่มวิชาทันตกรรมหัตถการ จะเรียนเกี่ยวกับการบูรณะฟันให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาพเดิม เช่น ถ้าฟันกรามผุ แทนที่จะถอนฟันก็ให้มาอุดฟันแทน ทำให้ใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งในระดับปริญญาตรี จะได้เรียนการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชนิดต่างๆ
- สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นสาขาเฉพาะทางสาขาเดียวที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การถอนฟันธรรมดา ถอนฟันคุด การผ่าตัดกระดูกในช่องปาก ผ่าตัดขากรรไกร ในระดับปริญญาตรีจะศึกษาแค่การถอนฟันและถอนฟันคุดเท่านั้น หากไม่ได้ศึกษาต่อทางด้านนี้จะไม่สามารถรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ เพราะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ถ้าไม่ชำนาญพอจะยิ่งเป็นอันตรายได้
- สาขาทันตสาธารณสุข เป็นสาขาที่ไม่เน้นงานในคลินิก แต่เป็นการลงภาคสนาม เข้าหาชุมชน เน้นการบริหาร จัดการ วางแผน และการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
- สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นการศึกษาการบูรณะฟัน อวัยวะในช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร ด้วยวัสดุประเภทต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้น ให้คงไว้ซึ่งการทำงาน ความสะดวกสบาย และความสวยงามของช่องปาก โดยการบูรณะฟันธรรมชาติ ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
- สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก เป็นการรักษาช่องปากของเด็ก แม้ว่าขั้นตอนการรักษาช่องปากในวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่จะไม่ต่างกันมาก แต่สิ่งที่ต่างกันคือ วิธีการจัดการรักษา เพราะการรักษาฟันในเด็กจะต้องอาศัยจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะได้เรียนกันอย่างละเอียดถ้าได้เรียนต่อเฉพาะทาง
- สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งอาจเกิดจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือฟันแตก หัก ทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบ มีอาการปวดฟัน
- สาขาทันตกรรมจัดฟัน เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการจัดเรียงฟัน การเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความสวยงาม และการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการดูแลและทำความสะอาด
- สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เป็นการศึกษาต่อเนื่องสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวุฒิบัตร
ใช้คะแนนอะไรบ้าง
ควรให้ความสำคัญใน TCAS รอบ 2 (โควตาภูมิภาค/จังหวัด/เขต) รวมไปถึง รอบ 3 (รับโดย กสพท.) เพราะจากสถิติการรับสมัครหลายสถาบันเน้นเปิดรับใน 2 รอบนี้ ผลคะแนนที่ต้องมีและทำให้ดี คือ 7 วิชาสามัญ , GAT , PAT1 , 2 และวิชาเฉพาะแพทย์
TCAS รอบ 2 (โควตาภูมิภาค/จังหวัด/เขต)
- ใช้คะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ โดยให้เลือกสอบ 7 วิชา ภาษาไทย อังกฤษ ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ 1 และสังคมศึกษา
- ใช้คะแนนสอบ 7 วิชาสามัญ + คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์ ประกอบด้วย
- ด้านเชาวน์ปัญญา (ด้านการคำนวณ + IQ และด้านภาษา) มีข้อสอบทั้งหมด 45 ข้อ เต็ม 100 คะแนน และมีเวลาในการทำทั้งหมด 75 นาที
- ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ แนวโน้มของข้อสอบมักจะออกมาเป็นกรณีและสถานการณ์ต่าง ๆ ทั่วไปในสังคม เนื้อหาของข้อสอบส่วนใหญ่จะอิงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีข้อสอบทั้งหมด 80 ข้อ เต็ม 100 คะแนน และมีเวลาในการทำ 75 นาที
- ด้านทักษะการเชื่อมโยง จะคล้าย ๆ กับการสอบ GAT เชื่อมโยง ที่เป็นข้อสอบแบบบทความ แล้วกำหนดรหัสมาให้เราเติมลงไปในข้อที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการทดสอบทักษะในการอ่านบทความและการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อความที่โจทย์กำหนดมาให้ มีข้อสอบทั้งหมด 20 ข้อ เต็ม 100 คะแนน และมีเวลาในการทำ 75 นาที
- ใช้เฉพาะคะแนนสอบ GAT/PAT (GAT, PAT1, PAT2)
- ใช้คะแนนสอบ GAT/PAT + คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์
TCAS รอบ 3 (รับโดย กสพท.)
- ใช้คะแนนสอบ 7 วิชาสามัญ (ต้องทำคะแนนได้ไม่น้อยกว่า 30 %)
- คะแนนสอบ O-NET ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 60%
- คะแนนสอบวิชาความถนัดแพทย์ กสพท
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาการสุขภาพช่องปากประยุกต์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาชีววิทยาช่องปาก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบดเคี้ยว
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบูรณะเพื่อความสวยงามและทันตกรรมรากเทียม
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมหัตถการ
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตสาธารณสุข
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตวิทยา
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขารังสีวิทยาช่องปากและใบหน้า
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาเวชศาสตร์ช่องปาก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขา EXERCISE AND SPORT
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมบูรณะ
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรมจัดฟัน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาปริทันตวิทยา
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตกรรม
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก
มหาวิทยาลัยพะเยา
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะทันตแพทยศาสตร์ สาขาทันตแพทยศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สอน และวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในคลินิกส่วนตัว หรือโรงพยาบาลเอกชนหรือเป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหมกระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย เป็นต้น