ตกงานถาวร ปัญหาที่บัณฑิตใหม่ต้องเจอ!

ตกงานถาวร ปัญหาที่บัณฑิตใหม่ต้องเจอ!

ตกงานถาวร ปัญหาที่บัณฑิตใหม่ต้องเจอ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสภาวะเศรษฐกิจ ณ ตอนนี้ นอกจากผู้มีงานประจำจะหวั่นเรื่องความมั่นคงในการทำงานว่าตนเองจะถูกหางเลข โดนบริษัทปรับลดพนักงานแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว บรรดานักศึกษาที่กำลังจะเป็นว่าที่บัณฑิตในเร็ว ๆ นี้ ก็มีแนวโน้มที่จะเดินเตะฝุ่นไม่มีงานทำด้วยเช่นกัน

COVID-19 ส่งผลให้บัณฑิตใหม่ว่างงาน

กรมการจัดหางานคาดการณ์ว่าผลกระทบจาก COVID-19 จะทำให้น้อง ๆ นักศึกษาที่เป็นบัณฑิตจบใหม่เสี่ยงตกงานถาวรเกือบ 500, 000 คน ซึ่งเป็นเพราะการจ้างงานในประเทศน้อยลงจนส่งผลให้ตลาดแรงงานไม่สามารถรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ได้เพียงพอ

โดยหลายบริษัทไม่มีนโยบายรับคนเพิ่ม หลายบริษัทต้องลดขนาดองค์กร บางบริษัทถึงขั้นต้องปิดกิจการ ขณะที่สถานประกอบการหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงาน จากจ้างเต็มเวลามาจ้างงานแบบพาร์มไทม์แทน

ตกงานถาวรเพราะไม่ได้ใช้ทักษะที่เรียน

เมื่อเป็นเช่นนี้ โอกาสที่นักศึกษาจบใหม่จะได้งานทำจึงลดน้อยลงด้วย เพราะหลายภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคบริการซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญยังไม่ได้กลับมาดำเนินธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมก็ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ จึงไม่ได้กลับมาผลิตเยอะเท่าเดิม

ด้านผู้ประกอบการก็เน้นการใช้เทคโนโลยี ใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน ซึ่ง COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบการทำงาน รูปแบบการจ้างงาน จึงส่งผลกระทบต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานของคนที่จบการศึกษาในปีนี้

และหากปล่อยให้ว่างงานนาน 1-2 ปี ก็อาจส่งผลในระยะยาวต่อศักยภาพในการหางานจนกลายเป็นตกงานถาวรได้ เนื่องจากทักษะที่เรียนมาไม่ได้นำมาใช้งาน จึงขาดประสบการณ์ในการทำงาน และเมื่อมีเด็กจบใหม่ในปี 2564 เพิ่มเข้ามาอีกราว 4-5 แสนคน นายจ้างก็จะเลือกรับคนเหล่านี้มากกว่าจะเลือกเด็กจบใหม่ที่ว่างงานนาน ๆ

ว่างงานเพราะสาขาไม่ตรงความต้องการ

นี่คือปัญหาที่บัณฑิตใหม่ในปี 2563 ต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจากการประเมินของสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย มองว่าเด็กที่จบมา 5 แสนคน หากจบจากสาขาดี ๆ ก็น่าจะถูกดึงตัวไปทำงานเพียง 20 % เท่านั้น ยังเหลืออีกราว 400,000 คน ที่ต้องเผชิญกับการตกงานถาวร

โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย มองว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักศึกษาจบอุดมศึกษาที่ไม่ตรงต่อความต้องการของนายจ้าง และผลพวงจาก COVID-19 จึงทำให้มีนายจ้างน้อยมากที่จะรับคนเพิ่ม เพื่อลดขนาดธุรกิจลงให้สอดคล้องกับกำลังซื้อและเศรษฐกิจที่คาดว่าจะถดถอยทั้งของไทยของโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook