วิธีป้องกันตัว และ รับมือพายุฝน ป้องกันตัวเองยังไงให้ปลอดภัย

วิธีป้องกันตัว และ รับมือพายุฝน ป้องกันตัวเองยังไงให้ปลอดภัย

วิธีป้องกันตัว และ รับมือพายุฝน ป้องกันตัวเองยังไงให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพราะในช่วงนี้เป็นฤดูฝน จึงไม่แปลกที่จะมีฝนตกหรือพายุเข้าอยู่บ่อยๆ ในช่วงเวลาเดือนนี้ จะมีพายุฝนเกิดขึ้นในประเทศเราอยู่บ่อยๆ ถึงฝนจะดูชุ่มฉ่ำ แต่ว่ามันก็มากับความน่ากลัวเหมือนกันถ้าเราไม่เตรียมตัวรับมือให้ดีมันก็สร้างความเสียหายให้เราได้เหมือนกันนะ

วันนี้ Sanook Campus เราขำนำเสนอ วิธีรับมือ พายุฝน ในฤดูฝน มาให้เพื่อนๆ ได้เตรียมตัว และ ป้องกันตัว ในขณะที่เกิดพายุฝนมาฝากให้เพื่อนๆ ให้ได้ทำตามกัน

วิธีเตรียมตัวก่อนเกิดพายุฝน

การเตรียมตัว รับมือก่อนเกิดพายุฝน

  • ต้องวางแผนล่วงหน้าเอาไว้ จากการติดตามพยากรณ์อากาศ และเช็กเส้นทางที่เสี่ยงอันตรายจากพายุฝน
  • ถ้ามีความจะเป็นต้องออกจากบ้าน ควรสังเกตสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันตัวเองจากพายุฝนที่กำลังเคลื่อนเข้ามา
  • เตรียมไฟฉายและเทียน และเพาเวอร์แบงก์พลังงานสำรองเอาไว้ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
  • เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เอาไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และเราจำเป็นต้องติดต่อใคร

ป้องกันตัวเองจากพายุฝนขณะอยู่บ้าน

  • นำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน เพราะสัตว์ทุกชนิดไม่สามารถป้องกันตัวเองจากฝนและฟ้าผ่าได้ รวมไปถึงปลอกคอสัตว์ส่วนใหญ่อาจจะเป็นสื่อล่อไฟฟ้าด้วย
  • ปิดประตูและหน้าต่างทุกบานให้สนิทเพื่อกันฝนซึมเข้ามาในบ้านและพยายามอยู่ห่างหน้าต่างเอาไว้
  • งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะในระหว่างที่เกิดพายุฝน เพราะกระแสไฟอาจจะวิ่งเข้าสู่ร่างกายได้
  • ในช่วงที่มีพายุฝนควรอยู่ในบ้านตลอดเวลา และควรออกจากบ้านหลังฝนหยุดสนิทแล้ว 30 นาที เพื่อลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่านที่มากับพายุฝน

ป้องกันตัวเองจากพายุฝนขณะอยู่นอกบ้าน

  • หลบเข้าชายคาทันที เพราะฟ้าสามารถผ่าได้เสมอ และควรหลีกเลี่ยงจากการหลบฝนใต้ต้นไม้และอาคารขนาดเล็กๆ เพราะโครงสร้างประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ และอาจได้รับบาดเจ็บจากต้นไม้และโครงสร้างถูกหักและโค่นลงมาได้อีก
  • หลีกเลี่ยงจากแหล่งน้ำเช่นสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำ ถ้าอยู่ในน้ำควรรีบขึ้นจากน้ำทันที
  • หากหลบฝนกับคนอื่น ควรรักษาระยะห่างกันไว้ 15.2 -30.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟวิ่งเข้าสู่ร่างกายคนรอบข้างเมื่อมีคนโดนฟ้าผ่า
  • หากมีฟ้าผ่าลงบริเวณใกล้เคียง ควรนั่งยองๆ เท้าชิดก้มหน้าซุกระหว่างเข่า มือปิดหูหรือจับเข่า จะช่วยลดความรุนแรงจากอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในเมื่อโดนฟ้าผ่าได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook