รู้หรือไม่ “เพื่อนสนิท” ในที่ทำงาน ส่งผลต่อการทำงานในเชิงบวก

รู้หรือไม่ “เพื่อนสนิท” ในที่ทำงาน ส่งผลต่อการทำงานในเชิงบวก

รู้หรือไม่ “เพื่อนสนิท” ในที่ทำงาน ส่งผลต่อการทำงานในเชิงบวก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การมีความสุขในที่ทำงานนั้น นอกจากได้ทำงานที่ตนเองรักแล้ว การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี และมีบรรยากาศการทำงานที่ดีมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเราได้เช่นกัน

ทั้งนี้ บริษัท Wildgoose ในอังกฤษ ได้สำรวจความคิดเห็นของพนักงานบริษัทเกี่ยวกับ “เพื่อนในที่ทำงาน” ว่าส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานได้หรือไม่ จากการสอบถามความเห็นลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักรรวม 120 แห่ง ซึ่งมีหลากหลายช่วงอายุ (16-64 ปี), หลากหลายตำแหน่ง รวมถึงขนาดของบริษัทที่มีตั้งแต่ระดับ SME ขึ้นไปด้วย

การมีเพื่อนสนิทส่งผลต่อการทำงานหรือไม่

ผลปรากฏว่าในจำนวนนี้กว่าครึ่งหรือ 56.16 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าการมีเพื่อนสนิททำให้พวกเขามีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ขณะที่ 23.29 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดียิ่งขึ้น และ 20.55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าทำให้พวกเขารู้สึกมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

โดยมี 38 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าพวกเขาไม่มีเพื่อนสนิทในที่ทำงาน แต่ในจำนวนนี้ 11 เปอร์เซ็นต์คิดว่าจะต้องมีเพื่อนที่พูดคุยได้อย่างสนิทใจอย่างน้อยสัก 1 คน

“ความสุขในที่ทำงาน” กับ “เงินเดือน”อะไรสำคัญกว่ากัน

พนักงานกว่าครึ่งราว 60.83 เปอร์เซ็นต์ มองว่าความสุขมีความสำคัญมากกว่าเงินเดือน โดยหากจำแนกลงไปแบบจำเพาะเจาะจงพบว่า เพศหญิงให้ความสำคัญเรื่องความสุขมากถึง 81 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับเพศชายที่เห็นความสุขสำคัญกว่าอยู่ราว 45 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ 85 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่มีตำแหน่งในระดับผู้จัดการ, ผู้อำนวยการ และเจ้าของธุรกิจ มองว่าเงินเดือนเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งต่างพนักงานที่เพิ่งทำงานใหม่ ๆ, พนักงานฝึกหัด และพนักงานบริหาร ที่มีถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ขอเลือกความสุขมากกว่าเงินเดือน

วิธีการใดที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน

คำตอบสูงสุดใน 2 อันดับแรก คือการมีกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งอันดับ 1 ได้แก่ การออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ หลังเลิกงานเดือนละ 1 ครั้ง (29.79เปอร์เซ็นต์) โดยมองว่าสามารถช่วยสร้างความสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงานได้ รองลงมาการเล่นกีฬาร่วมกัน เดือนละ 1 ครั้ง (27.66 เปอร์เซ็นต์)

แต่หากจำแนกเฉพาะพนักงานที่ให้ความสำคัญกับความสุขในที่ทำงานมากกว่าเงินเดือน เกือบครึ่ง (45.21 เปอร์เซ็นต์) เลือกการออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ หลังเลิกงานเดือนละ 1 ครั้ง รองลงมาคือการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางที่พนักงานสามารถรับประทานอาหารหรือใช้เวลาร่วมกันได้ นอกเหนือจากพื้นที่บริเวณโต๊ะทำงาน (27.4 เปอร์เซ็นต์)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook