การปกครองโดย นายกรัฐมนตรี และ ประธานาธิบดี แตกต่างกันอย่างไร

การปกครองโดย นายกรัฐมนตรี และ ประธานาธิบดี แตกต่างกันอย่างไร

การปกครองโดย นายกรัฐมนตรี และ ประธานาธิบดี แตกต่างกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การปกครองโดยมีนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่แทนเป็นหัวหน้ารัฐบาล การทำหน้าที่โดยทั่วไปจะอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ในรูปแบบผสมของรัฐบาลขุนนางและประชาธิปไตยหรือประธานาธิบดีในรูปแบบสาธารณรัฐของรัฐบาล เรียกว่าเป็นการปกครองแบบ ระบบรัฐสภา

istock-890699478

ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยประเทศไทยเราเรียกว่าระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

การปกครองโดยมีประธานาธิบดี ทำหน้าที่เป็นประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย เรียกว่าเป็นการปกครองแบบ ระบบประธานาธิบดี

istock-1061935522

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา

เปรียบเทียบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

istock-841454038

การปกครองแบบรัฐสภา

  • ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
  • ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภา
  • สภาสามัญเลือกคณะรัฐบาล
  • คณะรัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญ
  • นายกรับมนตรีและรัฐมนตรีส่วนมากต้องมาจากสภาสามัญ
  • คณะรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งได้นานตราบเท่าที่สภาสามัญไว้วางใจ
  • พรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ส่วนพรรคที่มีเสียงข้างน้อยทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน
  • ทุกครั้งที่มีการประชุมสภาสามัญ คณะรัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมด้วยและมีหน้าที่ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภา
  • ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย คือ สมาชิกสภาสามัญและสมาชิกสภาขุนนางกับคณะรัฐมนตรี
  • คณะรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาสามัญได้ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

การปกครองแบบประธานาธิบดี

  • อำนาจสูงสุดหรืออำนาจการปกครองเป็นของประชาชน
  • ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาโดยตรง
  • ประธานาธิบดีและรัฐสภามีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งแน่นอนและมั่นคง ต่างเป็นอิสระต่างหากจากกัน ไม่ขึ้นต่อกันและกัน และถอดถอนกันไม่ได้
  • ประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นประมุขของรัฐ
  • เมื่อประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมหรือลาออกหรือไร้สมรรถภาพ รองประธานาธิบดีเข้าดำรงตำแหน่งแทน
  • สมาชิกสภาจะเป็นรัฐมนตรีไม่ได้
  • ประธานาธิบดีจะเข้าร่วมประชุมสภาในสภาหนึ่งหรือประชุมร่วมกันมิได้ สมาชิกจะตั้งกระทู้ถามประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีไม่ได้
  • ประธานาธิบดีไม่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย
  • ร่างกฎหมายจะต้องผ่านการพิจารณาของทั้ง 2 สภา
  • ร่างกฎหมายอาจเป็นโมฆะได้ ถ้าขัดกับรัฐธรรมนูญ
  • ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีอาจสังกัดพรรคหนึ่งและเสียงข้างมาก ในรัฐสภาอาจเป็นของอีกพรรคหนึ่งก็ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook