ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ เป็นการศึกษาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของการเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น

คนที่เหมาะกับการเรียน ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์

  • มีจิตวิญญาณความเป็นครู คือมีความรักและเมตตาต่อลูกศิษย์
  • พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดี ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกับนักเรียนเสมอ
  • รักการเรียนรู้และรักการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะการบริหารจัดการ วางแผนได้อย่างเป็นระบบ
  • สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นำ

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง?

  • การศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education)
  • ประถมศึกษา (Elementary Education)
  • มัธยมศึกษา (Secondary Education)
  • สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)
  • เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
  • ศิลปศึกษา (Art Education)
  • ดนตรีศึกษา (Music Education)
  • ธุรกิจศึกษา (Business Education)
  • การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education)
  • จิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ (Counseling Psychology, Guidance and Special Education)

รายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย

  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิทยาลัยการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำนักวิชาครุศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (คณะศิลปศาสตร์) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
  • คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สถาบันอาศรมศิลป์

ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง

สัดส่วนคะแนน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT5 30%
  • รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT5 20% , PAT (ตามสาขาวิชา PAT1 หรือ PAT2 หรือ PAT7 20%)

คะแนนเฉลี่ยประมาณ : 17,500 คะแนนขึ้นไป

คะแนนที่ควรทำได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • รูปแบบที่ 1 GAT 180 -200 + PAT5 200 ขึ้นไป
  • รูปแบบที่ 2 GAT 180 -200 +PAT5 200 + PAT (ตามสาขาวิชา PAT1 หรือ PAT2 หรือ PAT7 110) ขึ้นไป

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

โดยในประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2562 คุรุสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไว้ด้วย ซึ่งผู้ที่จะประกอบอาชีพครูได้นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์ ดังนี้

ผ่านการรับรองประสบการณ์วิชาชีพครูตามที่คณะกรรมการกำหนด

ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ผ่านการทดสอบประเมินความรู้ 5 หมวดวิชา

ส่วนหลักเกณฑ์ในการทดสอบประเมินความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่มีการปรับเปลี่ยนล่าสุดนั้น กำหนดให้ทดสอบใน 5 หมวดวิชา ได้แก่ 1.หมวดทักษะภาษาไทย 2.หมวดทักษะภาษาอังกฤษ 3.หมวดทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) เพื่อการศึกษา 4.หมวดความรู้ทางวิชาชีพครู และ 5.หมวดความรู้วิชาเอก โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค. นี้เป็นต้นไป

หากสอบไม่ผ่านหมวดวิชาใดวิชาหนึ่ง สามารถสอบย้อนหลังได้เฉพาะหมวดนั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องสอบทุกหมวดวิชา และคะแนนสอบสามารถเก็บไว้ใช้เพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้เป็นระยะเวลา 3 ปี

ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี

นอกจากนี้ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ยังยกเลิกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตลอดชีพด้วย จากเดิมที่กำหนดให้ข้าราชการครูที่ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาแล้ว 3 ครั้ง รวมระยะเวลา 15 ปี มีใบประกอบวิชาชีพครูตลอดชีพได้

โดยให้ดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปีแทน ซึ่งการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูนั้น ครูทุกคนต้องมีหลักฐานยืนยันด้วยว่า ในระยะเวลา 5 ปี ได้รับการพัฒนาอะไรมาบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น สอบเข้าข้าราชการครู สอบเข้าคุรุสภา เป็นครูในโรงเรียนต่างๆ ตลอดจนเป็นครูสอนพิเศษ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook