เป่ายิ้งฉุบ มีที่มาจากไหน แต่ละประเทศเล่นเหมือนกันไหม?

เป่ายิ้งฉุบ มีที่มาจากไหน แต่ละประเทศเล่นเหมือนกันไหม?

เป่ายิ้งฉุบ มีที่มาจากไหน แต่ละประเทศเล่นเหมือนกันไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ นั้นเป็นการละเล่น ที่นิยมกันมากในหมู่เด็ก ๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง)

ที่มาของ เป่ายิ้งฉุบ

ที่มาเป่ายิ้งฉุบยังไม่ทราบประเทศต้นกำเนิดและพบว่าเกมนี้มีเล่นในประเทศเอเชียหลายประเทศ แต่มีชื่อเรียกวิธีเล่นที่แตกต่างกันออกไป

การเล่นของแต่ละประเทศ

ประเทศที่มีการเล่นคล้ายกัน

  • ไทย เรียก เป่ายิ้งฉุบ
  • ญี่ปุ่น เรียก จัง เคง ปอง (じゃんけんぽん)
  • เกาหลี เรียก คาวี พาวี โพ (가위 바위 보) เรียกเร็วๆ ก็จะเป็น ไค ไพ โพ
  • ชาติตะวันตก เรียก ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (Rock-paper-scissors)

ก่อนเริ่มเล่น

ร้องว่า “เป่า ยิ้ง ฉุบ" (ไทย), "จัง เคง ปอง" (ญี่ปุ่น), "ไค ไพ โพ" (เกาหลี), ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (ชาติตะวันตก)

กติกาการเล่น

  • ค้อน ชนะกรรไกร แต่แพ้กระดาษ
  • กระดาษ ชนะค้อน แต่แพ้กรรไกร
  • กรรไกร ชนะกระดาษ แต่แพ้ค้อน

สิงคโปร์ เรียกว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท

การเล่นมีทำมือสามแบบ คือ มังกร จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ น้ำ หงายฝ่ามือ

ก่อนเริ่มเล่น

ร้องว่า "ชุ่ม ชุ่ม พัท"

กติกาการเล่น

  • มังกรดื่มน้ำ มังกรชนะ
  • น้ำทำให้ก้อนหินจม น้ำชนะ
  • ก้อนหินฆ่ามังกร ก้อนหินชนะ

มาเลเซีย เรียกว่า วัน ทู ซุม

การทำมือ มีห้าอย่าง คือ นก จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ ปืน กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ กระดาน คว่ำมือลง น้ำ หงายฝ่ามือขึ้น

ก่อนเริ่มเล่น

ร้องว่า "วัน ทู ซุม"

กติกาการเล่น

  • นกดื่มน้ำ นกชนะ
  • หินขว้างนก หินชนะ
  • หินทุบกระดานแตก หินชนะ
  • ปืนยิงก้อนหินแตก ปืนชนะ
  • ปืนยิงนกตาย ปืนชนะ
  • ปืนยิงกระดานแตก ปืนชนะ
  • น้ำทำให้ปืนจม น้ำชนะ
  • น้ำทำให้หินจม น้ำชนะ
  • กระดานลอยน้ำ กระดานชนะ
  • กระดานกดนก กระดานชนะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook