เปิดคู่มือ “มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ” ที่รร.ดังไม่มี

เปิดคู่มือ “มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ” ที่รร.ดังไม่มี

เปิดคู่มือ “มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ” ที่รร.ดังไม่มี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อพ่อแม่ ผู้ปกครองส่งบุตรหลานไปเรียนหนังสือ ย่อมต้องคาดหวังว่าสถานศึกษาที่เลือกมานั้นจะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้กับนักเรียน พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมให้เด็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาเติบโตอย่างมีคุณภาพ และเป็นคนดีของสังคม

อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ปัจจุบันยังมีโรงเรียนหลายแห่งที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะบุคลากรที่ได้ชื่อว่าเป็นครูบาอาจารย์ จนทำให้ผู้ปกครองไม่กล้าวางใจ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของบุตรหลาน

ยิ่งเป็นชั้นเรียนสำหรับเด็กเล็กในระดับอนุบาล และชั้นประถมต้น ก็ยิ่งสร้างความกังวลใจมากขึ้น เพราะไม่แน่ใจว่าลูก ๆ ของตนเองจะได้รับอันตรายใด ๆ หรือไม่ เพราะแม้แต่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูก็ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามมาตรฐานอย่างที่ควรจะเป็น

ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงเห็นชอบให้มีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อยกระดับการพัฒนาเด็กปฐมวัย และใช้เป็นมาตรฐานกลางทั้งประเทศ โดยมีเป้าหมายให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการดูแล พัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ และสติปัญญาให้สมกับวัย

โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีระบุว่า การจัดทำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ถือเป็นมาตรฐานขั้นต้นที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเด็กของประเทศ เพื่อให้เริ่มต้นชีวิตอย่างมีคุณภาพ

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยซึ่งยังมีอายุไม่ครบ 6 ปีบริบูรณ์นั้น เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด และเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับพัฒนาการในช่วงวัยต่อ ๆ ไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ

หากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

นั่นหมายความว่า การพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงเป็นรากฐานที่มีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของคนตลอดชีวิต และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด

จำนวนครู / ผู้ดูแลเด็ก ต้องสัมพันธ์กัน

นอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิชาการจะเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญแล้ว การบริหารบุคลากรให้มีอัตราส่วนของครู และผู้ดูแลเด็กอย่างเหมาะสม พอเพียงต่อจำนวนเด็กในแต่ละกลุ่มอายุก็ต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน

โดยมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ระบุไว้ดังนี้

  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อัตราส่วนครู 1 คน ต่อเด็ก 3 คน / จำนวนเด็กในกลุ่มกิจกรรม กลุ่มละไม่เกิน 6 คน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อัตราส่วนครู 1 คน ต่อเด็ก 5 คน / จำนวนเด็กในกลุ่มกิจกรรม กลุ่มละไม่เกิน 10 คน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี อัตราส่วนครู 1 คน ต่อเด็ก 10 คน / จำนวนเด็กในกลุ่มกิจกรรม กลุ่มละไม่เกิน 20 คน
  • 3 ปี – ก่อนเข้าป.1 อัตราส่วนครู 1 คน ต่อเด็ก 15 คน / จำนวนเด็กในกลุ่มกิจกรรม กลุ่มละไม่เกิน 30 คน

ร่างกาย-สุขภาพเด็กต้องไม่ละเลย

  • มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ที่ระบุไว้ ดังนี้
  • ให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป รับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ และส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม
  • จัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมในการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
  • ตรวจสุขภาพอนามัยของเด็กประจำวัน ความสะอาดของร่างกายฟันและช่องปากเพื่อคัดกรองโรคและการบาดเจ็บ
  • เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคล บันทึกผล ภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้มีการตรวจสุขภาพร่างกาย ฟันและช่องปาก สายตา หูตามกำหนด

ครู / ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม

ขณะเดียวกันบุคลากรที่ประกอบวิชาชีพครู รวมถึงผู้ดูแลเด็ก ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย จะต้องมีวุฒิการศึกษา และคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วย ซึ่งจากข่าวดังที่อยู่ในความสนใจของผู้ปกครอง พบว่า ครูพี่เลี้ยงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ขณะที่ครูชาวต่างชาติก็ไม่มีอนุญาตทำงาน และไม่มีหนังสือสัญญาว่าจ้างจากทางโรงเรียน อีกทั้งยังเข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวด้วย

เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานของโรงเรียนดังกล่าวแล้วว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ จึงไม่น่าแปลกใจที่เหตุใดพ่อแม่ ผู้ปกครองถึงรับไม่ได้กับพฤติกรรมของครูที่ไม่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพจนต้องออกมาเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้นกับบุตรหลาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook