เคยสงสัยกันรึเปล่าว่าทำไม “ฤดูหนาว” ท้องฟ้ามืดเร็วกว่าฤดูอื่น

เคยสงสัยกันรึเปล่าว่าทำไม “ฤดูหนาว” ท้องฟ้ามืดเร็วกว่าฤดูอื่น

เคยสงสัยกันรึเปล่าว่าทำไม “ฤดูหนาว” ท้องฟ้ามืดเร็วกว่าฤดูอื่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสังเกตกันบ้างหรือเปล่าว่าเข้าสู่หน้าหนาวเมื่อไร ท้องฟ้าจะมืดเร็วกว่าปกติ และสว่างช้าเมื่อเทียบกับฤดูกาลอื่น ๆ ซึ่งต่างจากฤดูร้อนที่ดวงอาทิตย์จะตกดินช้ากว่า

แกนหมุนโลกเอียง รับแสงอาทิตย์ต่างกัน

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในแต่ละวันนั้น ความยาวนานของกลางวันและกลางคืนจะเปลี่ยนไปในแต่ละวัน ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นผลมาจากแกนหมุนของโลกเอียง ทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้แต่ละส่วนบนผิวโลกรับแสงจากดวงอาทิตย์ในปริมาณที่แตกต่างกัน ความยาวนานของกลางวันกลางคืนจึงต่างกันไปด้วย

เมื่อบางช่วงทางซีกโลกเหนือได้รับแสงอาทิตย์นานกว่า แต่บางช่วงทางซีกโลกใต้ได้รับแสงอาทิตย์นานกว่า จึงทำให้เกิดฤดูกาลที่แตกต่างกันนั่นเอง

 277869

ฤดูหนาวกลางคืนยาวนานกว่า

โดยช่วงฤดูร้อน กลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืน เนื่องจากดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนช่วงฤดูหนาวนั้น กลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน เพราะดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว

นอกจากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะส่งผลให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ต่างกัน จนเกิดเป็นฤดูกาลแล้ว ก็ยังทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตำแหน่งการขึ้นและตก และกลางวันกลางคืนยาวไม่เท่ากันด้วย

1 ปีมีกลางวัน-กลางคืนเท่ากันแค่ 2 ครั้ง

รู้หรือไม่ว่าใน 1 ปีนั้น จะมีกลางวันและกลางคืนที่ยาวนานเท่ากัน คือ ยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน เพียง 2 ครั้งเท่านั้น วันดังกล่าวเรียกว่า Equinox ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน เมื่อรวมกันจึงหมายความว่า“กลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน”

ส่วนบ้านเราเรียกว่า “วิษุวัต”แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” หมายถึงช่วงเวลากลางวัน เท่ากับกลางคืนพอดี โดยเกิดในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง จึงเรียกว่า Vernal Equinox (วสันตวิษุวัต) และ Autumnal Equinox (ศารทวิษุวัต) นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook