วรรณะของสี คืออะไร เคล็ดลับการเลือกสีให้ตรงกับอารมณ์ที่ต้องการสื่อ
วรรณะของสี คืออะไร
วรรณะของสี คือสีที่ทำให้มีความรู้สึกร้อนหรือเย็น โดยวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
วรรณะสีร้อน
ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเ สีแดง เป็นหลัก รวมถึงสีจากการผสมของทั้ง 3 สี เช่น สีแดงส้ม หรือสีส้มเหลือง
สีโทนเย็น
ประกอบด้วยสีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง รวมถึงสีที่เกิดจากการผสมของทั้ง 3 เช่น สีเขียวน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน
สีคู่ตรงข้าม
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
- มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
- ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
- ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
สีตรงข้าม หรือสีคู่ (Complementary Colors) หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่คือ
- เหลือง (Yellow) กับ ม่วง (Violet)
- แดง (Red) กับ เขียว (Green)
- น้ำเงิน (Blue) กับ ส้ม (Orange)
- ส้มเหลือง (Yellow-Orange) กับ ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green)
- ส้มแดง (Red-Orange) กับ เขียวน้ำเงิน (Blue-Green)
- เขียวเหลือง (Yellow-Green) กับ ม่วงแดง (Red-Violet)
หลักการใช้สี
การใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดู เพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ หลักของการใช้มีดังนี้
การใช้สีวรรณะเดียว
ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ
- วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
- วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)
การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก
การใช้สีต่างวรรณะ
หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณะร้อน 80% สีวรรณะเย็น 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
การใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรู้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
ความหมายของสี
- สีเหลืองโทนเขียว การเจ็บป่วย – ความอิจฉา – ขี้ขลาด – การแตกแยก
- สีเหลือง คือ ความสุข-พลังงาน – ความเจริญ – การเรียนรู้ – การสร้างสรรค์
- สีขาว คือ ความบริสุทธิ์ – ความดี – ความดีพร้อม – ความเงียบสงบ – ความยุติธรรม
- สีแดง คือ พลัง – อันตราย – สงคราม – อำนาจ
- สีม่วง คือ ความหยั่งรู้ – ความทะเยอทะยาน – ความก้าวหน้า – ความสง่างาม – อำนาจ
- สีชมพู คือ เป็นมิตร – ความรัก – ความโรแมนติก – ความเคารพ
- สีส้ม คือ กำลัง – ความมีโชค – พลังชีวิต – การให้กำลังใจ – ความสุข
- สีเหลืองอ่อน คือ ปัญญา – ความฉลาด
- สีแดงอ่อน คือ ความรู้สึกดีใจ – เรื่องทางเพศรส – ความรู้สึกของความรัก
- สีม่วงอ่อน คือ เรื่องรักใคร่ – ความสงบ -
- สีเขียวอ่อน คือ ความกลมกลืน – ความสงบ – สันติภาพ
- สีฟ้าอ่อน คือ การหยั่งรู้ – โอกาส – ความเข้าใจ – ความอดทน – ความอ่อนโยน
- สีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ – การเติบโต – การกลับมาของมิตรภาพ
- สีทอง คือ สติปัญญา – ความร่ำรวย – ความสว่าง – ความสำเร็จ – โชคลาภ
- สีเหลืองเข้ม คือ การตักเตือน – การเจ็บป่วย – ความเสื่อม – ความอิจฉา
- สีแดงเข้ม คือ ความโกรธ – ความรุนแรง – ความกล้าหาญ – กำลังใจ
- สีม่วงเข้ม คือ ความสูงส่ง – ความปรารถนาอันแรงกล้า – ความหรูหรา
- สีเขียวเข้ม คือ ความทะเยอทะยาน – ความโลภ – ความริษยา
- สีน้ำเงินเข้ม คือ ความจริง – สัจธรรม – อำนาจ – ความรู้ – ความซื่อสัตย์ – การป้องกัน
- สีน้ำตาล คือ ความอดทน – ความมั่นคง
- สีฟ้า คือ สุขภาพ – ความเชื่อถือ – ไหวพริบ – จงรักภักดี – ความเลื่อมใส – ความถูกต้อง
- สีดำ คือ ความลึกลับ – ความตาย – อำนาจ – พลัง – ความแรง – สิ่งชั่วร้าย – ความประณีต
- สีฟ้าทะเล คือ การป้องกัน – สุขภาพ