เรียกผิดมาเกือบตลอดชีวิต ที่กินทุกเช้า ที่จริงแล้ว มันไม่ได้เรียกว่า ปาท่องโก๋
ขนมที่เรียกว่าเป็นของกินเล่นสุดฮิตและนิยมมากๆ ในตอนเช้าของไทย เพราะหาซื้อง่ายและอร่อย ก็คงจะหนีไม่พ้น ปาท่องโก๋ กันอย่างแน่นอน แต่รู้กันรึเปล่าว่าที่จริงแล้ว ปาท่องโก๋ ที่เราเรียกจนติดปากกันอยู่ทุกวันนี้มันเป็นชื่อของขนมอีกอย่างนะ ไม่ใช้ขนมแป้งที่ทอดๆ ที่เรากินในทุกวันนี้
โหยวเถียว หรือ อิ่วจาก้วย
ความจริงแล้ว ปาท่องโก๋ ที่เรารู้และเข้าใจนั้น มีชื่อจริงๆ ว่า โหยวเถียว (油條) ในจีนกลาง ที่แปลว่า ท่อนแป้งทอดน้ำ ชาวหมิ่นหนานเรียกว่า โหยวจ๋ากั่ว (油炸粿) ในสำเนียงกลาง, อิ่วจาก้วย ในสำเนียงแต้จิ่ว, เหยาจากวั๋ย ในสำเนียงกวางตุ้ง, และ อิ่วเจี่ยโก้ย ในสำเนียงฮกเกี้ยน แปลว่า ขนมทอดน้ำมัน
ปาท่องโก๋
ความจริงแล้ว ปาท่องโก๋ ที่เรารู้จักและกินกันอยู่เป็นประจำนั้นคือขนมสีขาวๆ แบบนี้ต่างหาก 白糖糕 อ่านออกเสียงว่า ปะถ่องโก๊ ในสำเนียงจีนกวางตุ้ง หรือ แปะถึ่งกอ ในสำเนียงจีนแต้จิ๋ว หรือ ไป่ถางกาว ในสำเนียงจีนกลาง 白 แปลว่า ขาว 糖 แปลว่าน้ำตาล 糕 แปลว่าขนมที่เป็นก้อน
ปาท่องโก๋ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาลทรายขาว นึ่งในถาด แล้วตัดขายเป็นชิ้นๆ เนื้อขนมมีลักษณะพรุน ไม่เนียน ไม่เรียบเป็นมันเท่าขนมเปียก แต่ไม่แห้งเท่าขนมถ้วยฟู เปียกประมาณขนมน้ำดอกไม้ เหนียวนิดๆ เคี้ยวหนึบๆ สีขาวบริสุทธิ์
แล้วปาท่องโก๋ มาจากไหน
ในสมัยก่อนนั้น คนที่มาขายขนมมักจะขายขนมรวมๆ กันหลายอย่าง ซึ่งก็มีทั้งปาท่องโก๋และอิ่วจาก้วยรวมๆ กันไป คนขายอาจจะร้องขายปาท่องโก๋เป็นอย่างแรก และต่อด้วยขนมอย่างอื่น แต่คนไทยเกิดจำได้เฉพาะชื่อแรก เมื่อไปซื้อขนมมากินก็ได้อิ่วจาก้วยซึ่งเป็นขนมทอดมาทุกที จึงอนุมานว่าขนมทอดแบบนี้มีชื่อว่าปาท่องโก๋ตามที่คนขายพูด แล้วก็เรียกกันต่อๆ มาว่า