เภสัชศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
คณะเภสัชศาสตร์ เป็นสถานศึกษาพื้นฐานในการผลิตเภสัชกร โดยแบ่งเป็นการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในหลายประเทศได้จัดหลักสูตรการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 - 6 ปี อันประกอบด้วย เภสัชศาสตรบัณฑิต, วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ หรือในระดับผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วในแต่ละประเทศจะมีการจดขึ้นทะเบียนเป็นเภสัชกรแตกต่างกันออกไป
คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งแรกที่ได้ยกระดับเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนมากได้รับการแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ วิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ และ เภสัชบริบาลศาสตร์ โดยผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสองประเภทต้องจดทะเบียนเป็นเภสัชกรเช่นกัน โดยวิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหลายสาขา เช่น เภสัชภัณฑ์ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชศาสตร์สังคม บริหารเภสัชกิจ และเภสัชบริบาลศาสตร์ยังแบ่งเป็น เภสัชกรรมคลินิก เป็นต้น
ปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ทั้งในสถานะเป็นโรงเรียน, วิทยาลัย, สำนักวิชา และคณะ แต่ละแห่งจะมีการจัดระบบการศึกษาแตกต่างกันออกไป
หลักสูตรการเรียนเภสัชศาสตร์
เภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
จะเน้นการศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา
สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)
จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วงานในสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมจะทำงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพ ฯลฯ
วิชาพื้นฐาน
- แคลคูลัส (Calculus)
- หลักเคมี (Principal of chemistry)
- เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry)
- เคมีเชิงฟิสิกส์และการนำไปประยุกต์ใช้ (Physical Chemistry and Applications)
- ฟิสิกส์เบื้องต้น (Introductory physics)
- เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (Cell and Molecular Biology)
- ชีวเคมีการแพทย์พื้นฐาน (Basic Medical Biochemistry)
- สรีรวิทยาการแพทย์ (Medical Physiology)
- กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (Basic Anatomy)
- ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (General Medical Parasitology)
- จุลชีววิทยาทางการแพทย์ (Medical Microbiology)
- หลักการสาธารณสุข (Principle of Public Health)
- ประสบการณ์สาธารณสุขในชุมชน (Public Health Experience in Community)
- ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
- ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
- ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)
- ภาษาอังกฤษวิชาชีพ (Professional English)
วิชาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชศาสตร์
- บทนำสู่วิชาชีพเภสัชกรรม (Introduction to Pharmacy Profession)
- บทนำทางเภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Introduction to Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- การควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์สำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Quality Control for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชกรรมสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutics for Doctor of Pharmacy)
- บทนำสู่เภสัชเวท (Introduction to Pharmacognosy)
- เภสัชเวทสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacognosy for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ (Biopharmaceutics and Pharmacokinetics)
- เภสัชเคมีสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Chemistry for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชบำบัดประยุกต์ (Applied Pharmacotherapeutics)
- กฎหมายทางเภสัชกรรม (Laws in Pharmacy)
- เภสัชสนเทศสำหรับเภสัชศาสตร์ (Pharmacoinformatics for Doctor of Pharmacy)
- เภสัชระบาดวิทยาเบื้องต้น (Basic Pharmacoepidemiology)
- การทบทวนข้อมูลยาใหม่ (Current Drug Review)
- การบริหารทางเภสัชศาสตร์และบทบาทเภสัชกร (Pharmacy administration and Pharmacist role)
- จริยธรรมเชิงวิชาชีพ (Professional Ethics)
- การจัดการคุณภาพในองค์กรสุขภาพ (Quality Management in Health Care Organization)
- ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติสำหรับบริบาลเภสัชกรรม (Research Methodology and Biostatistics for Pharmaceutical Care)
- เภสัชเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Basic Pharmacoeconomics)
- การสื่อสารเชิงวิชาชีพ (Professional Communication)
- เภสัชศาสตร์สังคมและพฤติกรรม (Social and Behavioral Aspects in Pharmacy)
- บทนำสู่ปฏิบัติการทางบริบาลเภสัชกรรม (Introduction to Clerkship for Doctor of Pharmacy)
- การฝึกงานวิชาชีพเภสัชกรรม (Pharmacy Training)
- โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ (Research Project in Pharmaceutical Sciences)
คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ
รอบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
รายชื่อคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร
- วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยพายัพ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยสยาม
- สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
แนวทางการประกอบอาชีพ
เป็นเภสัชกรประจำหน่วยงานราชการหรือเอกชนได้ทุกแห่ง เป็นเภสัชกรหรือผู้ควบคุมคุณภาพของยาในโรงงานเภสัชกรรม เป็นผู้ควบคุมมาตรฐานอาหารและยาบริสุทธิ์ เป็นนักวิเคราะห์วิจัยในสถาบัน กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เป็นเภสัชกรชุมชนในร้านจำหน่ายยาทั่วไป เป็นผู้บริหารการจำหน่ายยา นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย