คำที่ควรใช้ และ คำที่ไม่ควรใช้ (ภาษาพูด) ในการเขียนหนังสือราชการ
ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่น ๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่าง ๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
การใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการในการเขียนหนังสือราชการนอกจากรูปแบบจะถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณแล้วยังจำเป็นต้องมีความชัดเจนถูกต้องสมเหตุสมผล มีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นระเบียบ นอกจากนี้จำต้องมีการใช้ถ้อยคำภาษาที่ถูกต้องชัดเจนเหมาะสมและสละสลวยน่าอ่านอีกด้วยดังนั้นการเขียนหนังสือราชการจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ใน ด้านศาสตร์คือการมีหลักการในการเขียนที่ชัดเจนการใช้ภาษาถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสส่วน ในด้านศิลป์มีการใช้ภาษาที่นุ่มนวลสำนวนไพเราะที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์การเป็นผู้สนใจอ่านคือการอ่านมาก และการฝึกการเขียนคือการเขียนมากย่อมทำให้เขียนหนังสือได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นการเพิ่มทักษะจนเกิดเป็นความชำนาญในการเขียนหนังสือ
ตัวอย่าง คำที่ควรใช้ และ คำที่ไม่ควรใช้ (ภาษาพูด) ในการเขียนหนังสือราชการ
คำที่ควรใช้ |
คำที่ไม่ควรใช้ (ภาษาพูด) |
หาก | ถ้า |
ขณะนี้ | เดี๋ยวนี้ |
เช่นเดียวกัน | เหมือนกัน |
เช่นใด ประการใด | อย่างไร |
ได้หรือไม่ | ได้ไหม |
แจ้ง | บอก |
ดำเนินการ | ทำ |
ตรวจสอบ | ตรวจดู |
ประสงค์ | ใคร่ |
อนุเคราะห์ | ช่วย |
มิได้ หาได้ไม่ มีอาจ... ได้ | ไม่ได้ |
มิชอบ ไม่สมควร | ไม่ดี |
เหตุใด | ทำไม |
สิ่งใด อันใด | อะไร |
ขอรับการสนับสนุน | ขอยืม |
ประสานงานไปยัง | ติดต่อไปยัง |
ในกรณีนี้ | ในเรื่องนี้ |
แล้วเสร็จ เรียบร้อยแล้ว | เสร็จแล้ว |
ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด | ยังไม่ได้ทำ |