คณะสาธารณสุขศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

คณะสาธารณสุขศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

คณะสาธารณสุขศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะสาธารณสุขศาสตร์เป็นคณะที่สอนเกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร เพื่อการมีสภาพชีวิตทั้งทางกายภาพ จิตใจและทางสังคมที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยมุ่งศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข ศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป โดยคณะนี้จะแบ่งได้หลากหลายสาขาวิชาเฉพาะ

สาขาที่เปิดสอน

  • สาขาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล
  • สาขาการบริหารโรงพยาบาล
  • สาขาสุขศึกษา
  • สาขาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ
  • สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาอนามัยชุมชน
  • สาขาสร้างเสริมสุขภาพ

รายชื่อคณะสาธารณสุขศาสตร์ในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษารัฐ

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ห้องเรียนจังหวัดอุดรธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ห้องเรียนจังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ห้องเรียนจังหวัดนครราชสีมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เฉพาะระดับบัณฑิตศึกษา)
  • สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี (หลักสูตรเทียบโอน รับนักศึกษารุ่นแรก ปี 2558)
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดขอนแก่น

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต วิทยาเขตอุดรธานี
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยทองสุข
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สาขาสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาคารกรุงเทพมหานคร หลักสูตรเทียบโอน
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา นครศรีธรรมราช
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา เพชรบูรณ์
  • สถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต/วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์ เป็นคนที่มีความเสียสละต่อผู้อื่น ชอบการดูแล รักษาช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจดี

คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ

สัดส่วนคะแนน : GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT2 30%

คะแนนเฉลี่ยประมาณ : 15,000 คะแนนขึ้นไป

คะแนนที่ควรทำได้

  • GAT 210 ขึ้นไป
  • PAT2 120 ขึ้นไป

แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

การประกอบอาชีพสำหรับผู้ที่จบคณะนี้ ก็สามารถปฏิบัติได้หลากหลายเช่นกัน ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เป็นนักวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุข การควบคุมโรคต่างๆ นักวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นักวิชาการสุขศึกษา นอกจากนี้ ยังสามารถปฏิบัติงาน ในลักษณะเดียวกันนี้ในบริษัทเอกชนต่างๆ เช่น นัก วิชาการสิ่งแวดล้อม นักสุขาภิบาล หรือปฏิบัติงานในศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ เป็นอาจารย์ หรือครูสอนในสถาบันการ ศึกษาต่างๆ และยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook