คนไทยไอเดียดีคิด นวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารจากแครอท ลดปัญหาขยะพลาสติก

คนไทยไอเดียดีคิด นวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารจากแครอท ลดปัญหาขยะพลาสติก

คนไทยไอเดียดีคิด นวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารจากแครอท ลดปัญหาขยะพลาสติก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกว่าเป็นนวัตกรรมที่ไม่ใช่ดีต่อโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยลดต้นทุการผลิตอีกด้วย สำหรับ นวัตกรรมฟิล์มห่ออาหารจากแครอท ที่สามารถรับประทานได้ด้วย โดยเป็นผลการค้นคว้าวิจัยจากกรมวิชาการเกษตร ที่ทำออกมาเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกซึ่งใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนาน

0d4dd1d63ae77307330a1d693d7db

โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การคัดเลือกวัตถุดิบ และการปรับปรุงคุณสมบัติของฟิล์ม สำหรับการคัดเลือกวัตถุดิบได้คัดเลือกผักและผลไม้กลุ่มที่มีองค์ประกอบของสารกลุ่มพอลิแซคคาร์ไรด์ ได้แก่ เพคติน เซลลูโลส และสตาร์ชสูง นำมาให้ความร้อนและตีป่นจนเป็นเนื้อละเอียดในรูปพิวเร่ (Puree) ก่อนขึ้นรูปเป็นฟิล์ม ซึ่งพบว่าแคร์รอตที่ความเข้มข้น 30% โดยน้ำหนักให้ฟิล์มที่มีลักษณะดีที่สุด คือ แห้งและไม่กรอบเปราะจึงคัดเลือกแคร์รอตเป็นวัตถุดิบในการวิจัยครั้งนี้

23642d73d0f60cd3926273860f28b

หลังจากนั้นนำฟิล์มจากแคร์รอตที่ได้จากส่วนแรกมาปรับปรุงคุณสมบัติโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนของการปรับปรุงความแข็งแรงของฟิล์มด้วยเพคติน (pectin) และแอลจิเนต (alginate) เลือกสูตรที่ดีที่สุดมาปรับปรุงการยืดตัวโดยการเติมไซลิทอล ซึ่งพบว่าการเติมแอลจิเนต 3% ของน้ำหนักเนื้อ แคร์รอต และไซลิทอล (xylitol) 3.75% ของน้ำหนักเนื้อแคร์รอตให้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติดีที่สุด โดยแอลจิเนตมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟิล์ม ทำให้มีความเหนียวไม่ขาดง่าย ส่วนไซลิทอลเป็นสารให้ความหวานใช้แทนน้ำตาลใส่เติมลงไปเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับฟิล์ม โดยฟิล์มจากแคร์รอตที่พัฒนาขึ้นนี้มีความต้านทานการซึมผ่านก๊าซออกซิเจนอยู่ในระดับที่ดีจึงนำมาประยุกต์เป็นฟิล์มห่อผลิตภัณฑ์เช่น ลูกอม และผลไม้กวน

790eb1707fd032f6f7aace6a98c7f

นอกจากนี้ ฟิล์มแคร์รอตยังมีคุณค่าทางโภชนาการและช่วยต้านการเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาออกซิเดชัน เนื่องจากฟิล์มแคร์รอต 1 แผ่นมีปริมาณสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 3,465 ไมโครกรัม โดยฟิล์มแคร์รอตนี้มีอายุการใช้งานได้นานประมาณ 2 เดือน

สำหรับที่มาของแนวคิดนี้มีจุดเริ่มต้นจากนักวิจัยต้องการจะผลิตบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอาหารที่ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายได้ยากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสภาวะโลกร้อน ทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook