คำปฏิญาณตนของตำรวจ แก่นของการทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีอะไรบ้าง?

คำปฏิญาณตนของตำรวจ แก่นของการทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีอะไรบ้าง?

คำปฏิญาณตนของตำรวจ แก่นของการทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตำรวจไทย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยอำนาจของตำรวจตามพฤตินัย ตำรวจมีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติหน้าที่ ตามประเพณีที่เป็นแบบอย่าง ดังนี้ ตำรวจมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและมีอำนาจจะสอบสวน จับกุม คุมขัง ปราบปราม เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่อำนาจเหล่านี้สามารถสร้างคุณและโทษได้เท่า ๆ กัน สุดแต่การใช้ ตำรวจทุกคนจึงจำเป็นต้องควบคุมจิตใจให้มั่นคง

วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาดู คำปฏิญาณตนของตำรวจ ที่เรียกว่าเป็นแก่นของการทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ว่าการเป็นตำรวจนั้นต้องยึดหลักอะไรบ้าง

คำปฏิญาณตนของตำรวจ

ชาติของเรา เป็นไทยอยู่ได้จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และเอาความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ เราต้องรักษาชาติ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ เราต้องระงับทุกข์ และบำรุงสุขให้แก่ประชาชน

  • ข้อ 1 ข้าพเจ้า จักจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
  • ข้อ 2 ข้าพเจ้า จักยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อระงับทุกข์ และบำรุงสุขให้แก่ประชาชนตามหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
  • ข้อ 3 ข้าพเจ้า จักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดศีลธรรมเป็นหลักประจำใจ
  • ข้อ 4 ข้าพเจ้าจักยึดมั่นอยู่ในวินัย และรักษาไว้ ซึ่งระเบียบแบบแผนของกรมตำรวจ
  • ข้อ 5 ข้าพเจ้า จักเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และจักปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัด

วินัยอย่างร้ายแรง 7 ประการ(มาตรา 79)

  1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้
  2. ละทิ้ง หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้ง หน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
  3. เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการหรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ
  4. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือรับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  5. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
  6. กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆรวมทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 78 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง
  7. กระทำการหรือไม่กระทำการตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook