รายชื่อ ประเพณีไทย ทั้ง 4 ภาค แต่ละภาคมีประเพณีอะไรน่าสนใจบ้าง
แต่ละพื้นที่ท้องถิ่นนั้นจะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป แสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิต วัฒนธรรมที่เรียกว่าเป็นจุดเด่นของในภูมิภาคนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาศึกษากันหน่อยว่า ประเทศไทยเราในแต่ละภาคมีประเพณีอะไรบ้าง
ประเทศไทยมีกี่ภูมิภาค
การแบ่งอย่างเป็นทางการ
การแบ่งภูมิภาคแบบ 6 ภูมิภาค ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และจัดให้เป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ การแบ่งแบบนี้ประกอบไปด้วย 6 ภูมิภาค ได้แก่
- ภาคเหนือ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคตะวันตก
- ภาคกลาง
- ภาคตะวันออก
- ภาคใต้
การแบ่งแบบสี่ภูมิภาค
การแบ่งภูมิภาคแบบ 4 ภูมิภาค ใช้ในบางบริบทในการบริหารและสถิติ และยังเป็นการแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมแบบกว้าง ๆ โดยจัดให้ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกรวมอยู่ในภาคกลาง ในขณะที่จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี อยู่ในภาคเหนือ การแบ่งแบบนี้ใช้กันมากในโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาค
- ภาคเหนือ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคกลาง
- ภาคใต้
ประเพณีต่างๆ ในภาคเหนือ
- ประเพณียี่เป็ง
- ประเพณีทานขันข้าว
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
- ประเพณีปอยส่างลอง(งานบวชลูกแก้ว)
- ประเพณีฟ้อนผีปู่ย่า
- ประเพณีสลากภัต
ประเพณีต่างๆ ในภาคกลาง
- ประเพณีตักบาตรดอกไม้
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์
- ประเพณีตักบาตรเทโว
- ประเพณีทำขวัญข้าว
- ประเพณีกำฟ้า
- ประเพณีโยนบัว
- ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ
ประเพณีต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ประเพณีแห่ผีตาโขน
- ประเพณีแห่นางแมว
- ประเพณีบุญเบิกฟ้า
- ประเพณีบุญผะเหวด
- งานประเพณีตีช้างน้ำนอง
- ประเพณีแซนโฎนตา
- ประเพณีทอดกฐิน
- ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
- ประเพณีบุญบั้งไฟ
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา
- ประเพณีไหลเรือไฟ
- ทอดผ้าป่ากลางน้ำ
- เทศกาลผลไม้
- ทำบุญกลางทุ่ง
- ทอดผ้าป่าโจร
ประเพณีต่างๆ ในภาคใต้
- ประเพณีให้ทานไฟ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- ประเพณีลากพระ
- ประเพณีอาบน้ำคนแก่
- ประเพณีสวดด้าน
- ประเพณีแห่นางดาน
- ประเพณีกวนข้าวยาคู
- ประเพณียกขันหมากพระปฐม
- ประเพณีตักบาตรธูปเทียน