เพิ่งเจอไปตะกี๊ แต่จู่ ๆ ลืมเฉยเลยว่า “คำนี้” เขียนยังไง

เพิ่งเจอไปตะกี๊ แต่จู่ ๆ ลืมเฉยเลยว่า “คำนี้” เขียนยังไง

เพิ่งเจอไปตะกี๊ แต่จู่ ๆ ลืมเฉยเลยว่า “คำนี้” เขียนยังไง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยเป็นกันไหม เวลาที่จ้องหรือตั้งสมาธิอยู่กับอะไรนาน ๆ จู่ ๆ ก็เกิดลืมขึ้นมากะทันหัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ขณะที่เรากำลังเขียนหนังสือ อาจมีคำคำหนึ่งที่เราต้องเจออยู่ซ้ำ ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ก็เกิดลืมว่าตัวหนังสือที่กำลังจะเขียนนั้นมันเขียนอย่างไร หรือไม่ก็ไม่แน่ใจว่ามันสะกดอย่างไร สิ่งที่เขียนออกมาตามจิตใต้สำนึกก็ลังเลว่าเขียนผิดหรือถูก เพราะรู้สึกไม่คุ้นกับคำคำนั้น จนต้องไปหาเช็กให้ว่าที่เขียนไปนั้นถูกหรือยัง หลังจากนั้น เราจะรู้สึกเบลอ ๆ กับการเขียนหนังสือไม่ถูกอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะกลับสู่ภาวะปกติ

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังจะเป็นโรคสมองเสื่อม คุณไม่ได้กำลังจะเป็นอัลไซเมอร์ในไม่ช้า แต่มันเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานของสมองที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เราเรียกมันว่า “ปรากฏการณ์ Gestaltzerfall”

ปรากฏการณ์นี้มีคำอธิบายและถูกตั้งชื่อขึ้นครั้งแรกในปี 1947 โดย C. Faust จากเหตุการณ์นั่งจ้องรถบรรทุก แต่จู่ ๆ ก็ดูเหมือนรถบรรทุกทั้งคันจะหายไป เพราะดันให้สายตาไปโฟกัสอยู่ที่จุดจุดเดียว จนกระทั่งลองหลับตาชั่วครู่หรือหันไปมองไปที่อื่น ก็จะเริ่มเห็นรูปร่างรถบรรทุกขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการทำงานที่ผิดปกติชั่วครู่ของสมองกลีบข้าง ที่มีบทบาทสำคัญในการประสานข้อมูลและความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่เกี่ยวกับข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข

อธิบายลักษณะการเกิดปรากฏการณ์ Gestaltzerfall ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็อย่างเช่น การที่เราเห็นรอยเปื้อนบนผนังหรือว่าก้อนเมฆบนฟ้าเป็นรูปหน้าคน นั่นเป็นเพราะเซลล์ประสาทในการรับรู้ของคนเราไปกระตุ้นจิตใต้สำนึกแล้วบอกว่านี่เป็นรูปหน้าคน เช่นเดียวกัน เวลาที่เรามองตัวอักษรหรือโฟกัสกับคำคำไหนนาน ๆ ซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกัน จะทำให้เซลล์ประสาทในสมองส่วนรับรู้อักษรอ่อนล้าจนเบลอ สับสน ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง และทำให้เราจำไม่ได้ว่าคำคำนั้นเขียนอย่างไร หรือรู้สึกไม่แน่ใจว่าที่เขียนออกมานั้นเขียนถูกหรือเปล่า ต่อให้รู้ตัวหนังสือมากแค่ไหน หรือเป็นคำที่รู้จักดีแค่ไหน ก็เริ่มสงสัยและสับสนว่ามันเขียนแบบนี้จริงหรือเปล่า

ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องการลืมตัวหนังสือกะทันหัน แต่ยังพบปรากฏการณ์นี้ในส่วนของการจดจำใบหน้าคนด้วย ลองไปยืนมองตัวเองในกระจกนาน ๆ หรือจ้องมองคนอื่นนาน ๆ จู่ ๆ ก็เกิดจำไม่ได้ว่าเขาเป็นใคร หรือนึกไม่ออกว่าเขาเป็นใคร ดูหน้าแล้วไม่คุ้น ไม่คุ้นแม้แต่ตัวเองที่อยู่ในกระจก ซึ่งมันคงจะหลอนน่าดู ที่อยู่ดี ๆ เรากลับจำตัวเองที่อยู่ในกระจกไม่ได้ และมีแว่บหนึ่งที่สงสัยว่าคนในกระจกเป็นใคร

งานวิจัยหนึ่งที่ชื่อว่า Delays produced by prolonged viewing in the recognition of Kanji characters: analysis of the “Gestaltzerfall” phenomenon เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ โดยตั้งข้อสังเกตมาจากการใช้ตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งตัวคันจิก็มีรูปร่างลักษณะเหมือนตัวอักษรจีน

สำหรับตัวคันจินั้น เป็นตัวอักษรจีนที่ญี่ปุ่นรับมาใช้ ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษรฮิรางานะเป็นของตัวเอง ปัจจุบัน ญี่ปุ่นก็ยังใช้ตัวคันจิในการเขียนหนังสือ เด็กนักเรียนญี่ปุ่นทุกคนจะต้องเรียนตัวคันจิตามหลักสูตรการศึกษาจำนวน 1,945 ตัว จากคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวันราว ๆ 3,000 ตัว ซึ่งเด็กญี่ปุ่นจะต้องจำคันจิที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรด้วยตัวเอง แต่โดยทั่วไป เด็กญี่ปุ่นที่อายุประมาณ 11-12 ปี จะสามารถจำตัวคันจิที่ใช้ในชี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook