แต่ละช่วงวัย ต้องสร้างพื้นฐานการเงินอย่างไรบ้าง

แต่ละช่วงวัย ต้องสร้างพื้นฐานการเงินอย่างไรบ้าง

แต่ละช่วงวัย ต้องสร้างพื้นฐานการเงินอย่างไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเกิดเป็นเด็กน้อย ก็ถูกฝึกให้ออมเงินกับธนาคารที่รับฝากเงินที่โรงเรียน แต่เมื่อโตจนเข้าสู่วัยชราใครล่ะที่จะปลูกฝังในเราออมเงิน ถ้าไม่ใช่วินัยการออมในตัวเอง

แต่ละช่วงวัย ก็มีความต้องการทางการเงินที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งวัยอาจไม่ได้หมายถึงอายุ แต่หมายถึงลำดับขั้นของการใช้ชีวิตของแต่ละคน บางทีอาจเริ่มทำงานตั้งแต่อายุยังไม่ถึงยี่สิบ ในขณะที่บางที่อายุยี่สิบปีของใครบางคนยังเป็นวัยเรียนที่ต้องอาศัยเงินคุณพ่อคุณแม่

ช่วงวัยเริ่มต้นทำงานจนถึงราว ๆ อายุ 35 ปี

คือช่วงวัยที่ ต้องสร้างความมั่งคั่งพื้นฐานให้กับตัวเอง ซึ่งวิธีการสร้างความมั่งคั่งพื้นฐาน ก็มีอยู่ไม่กี่ขั้นตอนนั่นก็คือ

– โดยการเก็บเงินฉุกเฉินให้ตัวเอง อย่างน้อย 6 เท่าของใช้จ่ายส่วนตัวแต่ละเดือน

– เก็บเงินสำหรับการสร้างการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มทักษะให้ตัวเองทันโลกทันสมัย และมีศักยภาพที่มากกว่าคนในรุ่นเดียวกัน พื้นฐานความรู้สำคัญสำหรับการเติบโตในการทำงานขั้นต่อ ๆ ไป

– สร้างเครดิตทางการเงินที่ดี เช่น ไม่สร้างหนี้บัตรเกินจำเป็นจนจ่ายรายเดือนไม่ไหวหรือการจ่ายหนี้สินในชีวิตประจำวันให้ตรงเวลา รวมทั้งไม่ใช้เงินเกินตัวจนต้องหยิบยืมผู้อื่น

– เริ่มศึกษาการลงทุนสำหรับกองทุนที่สะสมไว้ใช้ในวัยเกษียณ

– เริ่มทยอยซื้อประกันให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ เพราะอายุที่ยังน้อย เบี้ยประกันก็จะน้อยตามไปด้วย

ช่วงวัย ตั้งแต่ 35-55 ปี

คือช่วงของการสะสมความมั่งคั่ง หลังจากการเรียนจบ ทำงานมาในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็ถึงวันที่ต้องสร้างเงินให้ทำงานแทนตัวเราเอง

– โดยการนำเงินเก็บไปลงทุน เพื่อสร้างให้งอกเงย ไม่ว่าจะลงทุนในหุ้น กองทุน หรือทองคำ

– เริ่มซื้อทรัพย์สินเป็นของตัวเอง เช่น บ้าน รวมทั้งการวางแผนเก็บเงินสำหรับครอบครัว

– อัปเดตแผนการเงิน สำหรับเกษียณของตัวเองนี่คือสิ่งที่เราต้องคอยดูว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับวัยเกษียณเราได้ทำตามแผนหรือไม่ หากแผนไม่บรรลุเป้าหมายก็อาจจะต้องเหนื่อยในการเข้มงวดกับการเงินตัวเอง หรือปรับแผนการลงทุนสำหรับวัยเกษียณใหม่

ช่วงวัย 55-65 ปี

ช่วงวางแผนก่อนการเกษียณ เริ่มเป็นช่วงเวลาชิล ๆ ของชีวิตบ้างหลังจากทำงานมานาน

– คำนวณเงินค่าใช้ส่วนตัวของตัวเองที่ต้องการใช้หลังเกษียณ ว่าเราต้องการใช้เงินเดือนละเท่าไหร่

– ลงทุนหางานเล็ก ๆ สำหรับช่วงเกษียณ เพื่อให้มีเงินรายได้เล็ก ๆ เท่านั้น และทำให้ไม่เบื่อชีวิตที่อาจจะว่างเกินไป

– วางแผนระยะยาวสำหรับการเงินเพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองในวัยเกษียณ

ช่วงวัยเกษียณ อายุ 65 ขึ้นไป

– พิจารณาเงื่อนไขในชีวิตที่มีอยู่พร้อมกับเงินที่สะสมมาทั้งชีวิต

– ดูแผนประกันชีวิต และประกันสุขภาพของตัวเองที่มีทั้งหมด เพื่อวางแผนพร้อมกับเงินสดที่มี

นอกจากเงื่อนไขเรื่องอายุ ก็ต้องพิจารณาการวางแผนทางการเงิน ตามปัจจัยแต่ละอีเว้นท์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น แต่งงานไว มีลูกตอนอายุเยอะ หรือวางแผนเกษียณตัวเองก่อนกำหนด วางแผนได้แบบนี้ เท่านี้ก็มีความสุข ไม่กังวลเรื่องการเงินแล้วล่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook