สารคดีสั้น เรื่อง การบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์ จากองค์การยูเนสโก

สารคดีสั้น เรื่อง การบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์ จากองค์การยูเนสโก

สารคดีสั้น เรื่อง การบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์ จากองค์การยูเนสโก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในปัจจุบันทั่วโลกได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมในประเทศ โดยในประเทศไทยก็มีการอนุรักษ์เช่นกันแต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยนั้นที่ขาดแคลนช่างฝีมือ ช่างเชิงเทคนิคพิเศษ อาทิเช่น ช่างไม้ ช่างอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานนั้นเป็นกลุ่มอาชีพที่ขาดแคลนทําให้คุณภาพงานการบูรณะโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์ที่เป็นมรดกของชาตินั้นไม่ดีเท่าที่ควร องค์การยูเนสโกจึงมีความจําเป็นต้องฟื้นฟูความรู้ทักษะช่างสําหรับงานอนุรักษ์อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานช่างฝีมือที่มีความชำนาญโดยเฉพาะช่างไม้ที่ประเทศไทยขาดแคลนช่างไม้ที่มีทักษะ ความเข้าใจ และความใส่ใจในการทํางานอนุรักษ์ทั้งในเรื่องของการวางแผนอนุรักษ์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์และการลงมือปฏิบัติด้วยเทคนิควิธีแบบดั้งเดิม

โครงการสร้างอาชีพช่างอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือขององค์การยูเนสโก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี และการสนับสนุนโครงการจากมูลนิธิเอสซีจี เพื่อมุ่งพัฒนาอาชีพช่างอนุรักษ์โบราณสถานเป็นอาชีพสําหรับคนไทยที่ใช้ทักษะสูงและมีโอกาสในการเติบโตตามมาตรการและนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนความก้าวหน้าทางอาชีพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แรงงาน สังคม และวัฒนธรรม

โดยภายในโครงการนี้ได้มีการจัดทำสารคดีสั้น เรื่อง การบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ชมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้ทักษะทางด้านงานอนุรักษ์ที่ช่วยสร้างทักษะใหม่ (re-skill) และพัฒนาความทักษะเดิมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น (up-skill) เพื่อให้แรงงานที่มีความเสี่ยงต่อการตกงานน้อยลงและเป็นส่วนช่วยเร่งให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยเร็วอีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูความรู้ให้ทุกคนที่ดูสารคดีสั้นเรื่องการบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์นี้ตระหนักในคุณค่าของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นตนเอง อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะได้รับประสบการณ์จากผู้รู้ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ผ่านสารคดีนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ชมทุกท่านจะได้รับความรู้และทักษะเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของไทยและได้รู้จักผู้ที่ทำงานในสาขาชีพการอนุรักษ์มากขึ้น

ประโยชน์ที่ผู้ชมจะได้รับจากการชมสารคดีนี้

  • ได้รับความรู้ด้านวิธีการการบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์
  • เพื่อให้เกิดการเข้าใจถึงบริบทการทำงานทั้งตัวผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์และผู้คนในชุมชนด้านการบูรณะอาคารไม้ประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนตัวเองอย่างยั่งยืน
  • ความตระหนักถึงคุณค่าของอาชีพช่างอนุรักษ์และคุณค่าของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน

สารคดีนี้เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ชมใดบ้าง?

  • ผู้ทำงานด้านอนุรักษ์งานไม้ ช่างไม้ ที่ต้องการพัฒนาทักษะใหม่ (reskill) และพัฒนาความทักษะเดิมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น (upskill)
  • นักเรียนหลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างไม้ นักศึกษา ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกช่างไม้
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจเรียนรู้ด้านงานอนุรักษ์

ผู้สร้าง

องค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในพระอุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี สนับสนุนโดย มูลนิธิเอสซีจี

ผู้ดำเนินรายการ

  • สันธาน เวียงสิมา
  • รศ. วนิดา พึ่งสุนทร
  • พงศ์ธร เหียงแก้ว
  • ผศ. บัญชา ชุ่มเกษร
  • เอิบเปรม วัชรางกูร
  • อาจารย์ ประสงค์ คำอยู่
  • อาจารย์ จิราภรณ์ อรัณยะนาค
  • ผศ.ดร. องอาจ หุดากร
  • ดร. วสุ โปษยะนันทน์
  • จุมภฏ ตรัสศิริ
  • อริยะ ทรงประไพ

เนื้อหาของสารคดี

ตอนที่ 1 เครื่องมืองานช่างไม้: การใช้เลื่อย

ตอนที่ 2 เครื่องมืองานช่างไม้: การใช้กบ

ตอนที่ 3 เครื่องมืองานช่างไม้: การใช้สิ่ว

ตอนที่ 4 การศึกษาค้นคว้าข้อมูล

ตอนที่ 5 งานตรวจสอบสภาพปัจจุบัน (ตอนแรก)

ตอนที่ 6 งานตรวจสอบสภาพปัจจุบัน (ตอนสอง)

ตอนที่ 7 งานออกแบบเพื่อการอนุรักษ์

ตอนที่ 8 งานบูรณะเสริมความมั่นคง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook