จล. ผนึก ม.เบอร์หนึ่ง! ในด้านการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ เปิดหลักสูตร ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม

จล. ผนึก ม.เบอร์หนึ่ง! ในด้านการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ เปิดหลักสูตร ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม

จล. ผนึก ม.เบอร์หนึ่ง! ในด้านการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติ เปิดหลักสูตร ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยคณะศิลปศาสตร์ จับมือมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง (Beijing Language and Culture University) สถาบันสอนภาษาจีนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เปิดหลักสูตร “ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม” ครั้งแรก! เล็งปั้น “บัณฑิตไทยรู้ทันอุตสาหกรรมจีน” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาจีน ทั้งเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม/องค์กรที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร รองรับการค้าการลงทุนระหว่างไทย-จีน และยุทธศาสตร์บีอาร์ไอ ในการขยายอิทธิพลบนเวทีโลกผ่านการเชื่อมโยงกับนานาประเทศ ภายหลังโควิด-19 คลี่คลาย โดยหลักสูตรมีระยะเวลาเรียน 4 ปี เน้นเรียนรู้ภาษาจีนแบบเข้มข้น และเท่าทันความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม-โลจิสติกส์จีนยุคใหม่ พร้อมเปิดประสบการณ์เรียนรู้ภาษา-วัฒนธรรมจีน ณ กรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและสมัครออนไลน์ TCAS รอบ 3 แอดมิชชัน ได้ตั้งแต่วันนี้ - 15 พฤษภาคม 2564 ผ่าน https://new.reg.kmitl.ac.th/admission

168715075_107906108069405_537

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะศิลปศาสตร์ สจล. โทร. 085-135-8540 (ผศ. ดร.อารีย์ รุ่นพระแสง) หรือดูรายละเอียดหลักสูตรที่ http://fla.kmitl.ac.th/th เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/cikmitl หรือติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมได้ที่ www.facebook.com/kmitlofficial

ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. โดยคณะศิลปศาสตร์ จับมือ “มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง” (Beijing Language and Culture University) มือเบอร์หนึ่งสถาบันสอนภาษาจีนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เปิดหลักสูตร “ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม” (Bachelor of Chinese for Industry) ครั้งแรกในไทย เล็งปั้น “บัณฑิตไทยรู้ทันอุตสาหกรรมจีน” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาจีน ทั้งเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม องค์กรที่ใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และตอบสนองสังคมจีนยุคใหม่หรือยุทธศาสตร์ของจีนในการขยายอิทธิพลบนเวทีโลกผ่านการเชื่อมโยงกับนานาประเทศ (Belt and Road Initiative: BRI) หรือโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) คลี่คลาย

อย่างไรก็ดี จีน ถือเป็นคู่ค้าเบอร์หนึ่งของไทย โดยมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 8.4 แสนล้านบาท อีกทั้งยังเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.3 แสนล้านบาท (ข้อมูล: ศูนย์บริการข้อมูลสารสนเทศ ณ จุดเดียวของกระทรวงพาณิชย์, 2564) โดย สจล. คาดหวังว่า บัณฑิตในหลักสูตรดังกล่าว จะสามารถสร้างโอกาสทางอาชีพ หรือกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทย-จีน ผ่านการต่อยอดภาษาเพื่อธุรกิจในการต้อนรับนักลงทุน-นักท่องเที่ยวชาวจีน อันจะนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้ในอนาคต

รศ. ดร.ไพฑูรย์ พิมดี รักษาการคณบดี คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม มีระยะเวลาเรียน 4 ปีที่ สจล. เน้นการเรียนรู้ภาษาจีนแบบเข้มข้น ครอบคลุมภาษาจีนเพื่อสื่อสารเชิงวิชาชีพ ภาษาจีนเพื่อการนำเสนอผลงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ เท่าทันความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์จีนยุคใหม่ เพื่อให้บัณฑิตสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน เสมือนเจ้าของภาษา (Native Speaker) โดยแท้จริง และพร้อมก้าวสู่โลกการทำงานร่วมกับนักลงทุน/นักธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ต้องใช้ภาษาจีนสื่อสารได้อย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเดินทางไปเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ที่มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ผ่าน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่

  • โครงการประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักศึกษาที่จบปีการศึกษาที่ 1 สามารถเดินทางไปเรียนในช่วงปิดภาคเรียน ที่มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ 40 ชั่วโมง เมื่อผ่านการทดสอบ ก็จะสามารถโอนวิชาเรียนได้ 1 หน่วยกิจ และกลับมาศึกษาต่อที่ สจล.
  • โครงการสอนร่วมระดับปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาที่จบปีการศึกษาที่ 2 สามารถเดินทางไปเรียนในปีการศึกษาที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา (นักศึกษาสามารถศึกษาต่อนอกเหนือจากระยะเวลาดังกล่าวได้)

ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าว เปิดรับสมัครผู้เข้าศึกษาต่อใน 3 คุณสมบัติดังนี้ 1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น 2. ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. และ 3. ผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันฯ หรือมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศสถาบันฯ กำหนด โดยเปิดรับรอบแรก จำนวน 50 ที่นั่ง ในระบบ TCAS รอบ 3 แอดมิชชัน (Admission) ผ่าน https://new.reg.kmitl.ac.th/admission ตั้งแต่วันนี้ - 15 พฤษภาคม 2564

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะศิลปศาสตร์ สจล. โทร. 085-135-8540 (ผศ. ดร.อารีย์ รุ่นพระแสง) เว็บไซต์ http://fla.kmitl.ac.th/th เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/cikmitl หรือติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรม สจล. ได้ที่ www.facebook.com/kmitlofficial

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook