คณะที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช็กกันหน่อย คณะไหนจบแล้วต้องสอบเพื่อเอาใบไว้ทำงาน
เพราะว่าในบางคณะนั้นเมื่อเรียนจบไปแล้ว เรายังไม่จบกับการเรียน เพราะบางสายอาชีพยังต้องมีใบประกอบวิชาชีพในการทำงาน ทำให้เราต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพด้วยนั่นเอง วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาเช็กลิสต์กันหน่อยว่า คณะไหนบ้างที่มีใบประกอบวิชาชีพ จะใช่คณะที่เพื่อนๆ เรียนกันอยู่รึเปล่า
โดยข้อดีของใบประกอบวิชาชีพก็คือเป็นงานที่เฉพาะทาง จะถูกแย่งงานจากคณะอื่นๆ ได้ยาก แต่ใบประกอบวิชาชีพนั้นต้องสอบเพื่อให้ได้มา ไม่ใช่เรียนจบแล้วได้ ทำให้ต้องมีความพยายามมากขึ้นนั่นเอง
คณะที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช็กกันหน่อย คณะไหนจบแล้วต้องสอบเพื่อเอาใบไว้ทำงาน
คณะแพทยศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม สอบได้เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
คณะทันตแพทยศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม สอบได้เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
คณะเภสัชศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สอบได้เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
คณะพยาบาลศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สอบได้เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คณะการแพทย์แผนไทย
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สอบได้เฉพาะผู้ที่จบสาขาการแพทย์แผนไทย
คณะการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สอบได้เฉพาะผู้ที่จบสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะการเทคนิคแพทย์
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคแพทย์ สอบได้เฉพาะผู้ที่จบ สาขาเทคนิคแพทย์
คณะกายภาพบำบัด
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด สอบได้เฉพาะผู้ที่จบ สาขากายภาพบำบัด
สาขารังสีเทคนิค
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (สำหรับรังสีเทคนิค)
สาขาจิตวิทยาคลินิก
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (สำหรับจิตวิทยาคลินิก)
สาขาการแพทย์แผนจีน
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (สำหรับแพทย์แผนจีน)
สาขาทัศนมาตรศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (สำหรับทัศนมาตรศาสตร์)
สาขากิจกรรมบำบัด
ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ (สำหรับกิจกรรมบำบัด)
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ สอบได้เฉพาะผู้ที่จบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
สาขาการบัญชี
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบัญชี (ต้องมีใบนี้ก่อนถึงจะเป็นผู้ตรวจบัญชีได้)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (บางสาขา โยธา, ไฟฟ้า, เครื่องกล, อุตสาหการ, เหมืองแร่, เคมี และ สิ่งแวดล้อม)
คณะนิติศาสตร์
ใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (ต้องสอบได้ใบนี้ก่อนถึงจะว่าความได้), เนติบัณฑิต (ต้องสอบผ่านก่อนถึงจะสอบเป็นอัยการได้)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (บางสาขา สถาปัตยกรรมหลัก, ภูมิสถาปัตยกรรม, ผังเมือง, สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์)
คณะศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์
ใบประกอบวิชาชีพครู (หลักสูตร 4 ปี ต้องสอบ หลักสูตร 5 ปี ไม่ต้องสอบ)
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (ประกอบด้วย นิวเคลียร์, ควบคุมมลพิษ, สารเคมีอันตราย และการเพาะเลี้ยงและใช้จุลินทรีย์ที่ก่อโรค)
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (ถ้าจบจากคณะอื่นหรือสาขาอื่นต้องผ่านการอบรม)