ประวัติ "คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์" หรือ "ทมยันตี" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
ชื่อของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ ทมยันตี อยู่คู่กับวงการนวนิยายไทยหลายมาหลายต่อหลายปี เพราะผลงานของเธอนั้นเรียกว่าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่า ถูกนำไปสร้างสื่อภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายยุคหลายสมัย และนอกจากนั้นยังได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาแล้ว
ประวัติ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ ทมยันตี
- คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ชื่อเล่นคือ อี๊ด
- มีนามปากกาที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือ ทมยันตี
- เกิดวันที่ เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2479
- เกิดที่ จังหวัดพระนคร
- จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์
- สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา
คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ตระกูลฝ่ายมารดาเป็นชาววัง จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จากนั้นศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายหลังเปลี่ยนมาศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอเป็นนักโต้วาทีของมหาวิทยาลัย ร่วมทีมกับสมัคร สุนทรเวช และชวน หลีกภัย
เธอใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านหนังสือในห้องสมุดหลายแห่ง เธอตัดสินใจไม่ไปสอบเพื่อรับปริญญา ทำให้เธอสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาแทน ในขณะศึกษาระดับชั้นปีที่สาม เพื่อนของเธอได้ชักชวนให้ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยและวิชาประวัติศาสตร์ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เธอจึงลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพครู และเขียนหนังสือไปพร้อม ๆ กัน ต่อมาเธอจึงเลิกสอนหนังสือและหันมาเขียนหนังสือเพียงอย่างเดียวจนถึงปัจจุบัน
วิมลเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยม 4 ได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และได้เขียนเรื่องสั้นต่อเนื่องอยู่ถึง 11 ปี ขณะที่เริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง ในฝัน เมื่ออายุ 19 ปี ใช้นามปากกา โรสลาเรน ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์
นามปากกา
วิมลนิยมใช้สำนวนภาษาตามแบบหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) และนักเขียนสตรีรุ่นเก่าอย่าง ร. จันทพิมพะ
นวนิยายหลายเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น คู่กรรม ทั้งสองภาค ดั่งดวงหฤทัย ทวิภพ คำมั่นสัญญา ดาวเรือง รอยอินทร์ ร่มฉัตร เลือดขัตติยา ในฝัน เป็นต้น นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ คู่กรรม ภาคหนึ่ง
วิมลมีนามปากกา 6 ชื่อ ได้แก่
- โรสลาเรน เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "กุหลาบราชินี" ใช้เขียนเรื่องรักพาฝันหรือจินตนิยาย วิมลกล่าวว่านามปากกานี้นำมาจากชื่อนางเอกซึ่งเป็นนักร้องโอเปร่าในเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ นามปากกานี้ใช้ครั้งแรกในนวนิยายเรื่อง "ในฝัน"
- ลักษณวดี ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย คำว่า "ลักษณวดี" มีความหมายว่า "นางผู้มีลักษณะดี , นางผู้งามเลิศ" วิมลนำชื่อ "ลักษณวดี" ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีและเป็นมเหสีของพระลอดิลกราชจากวรรณคดีเรื่อง "ลิลิตพระลอ"
- กนกเรขา ใช้สำหรับแต่งเรื่องตลกเบาสมอง คำว่า "กนกเรขา" แปลว่า "อักษรอันวิจิตร" วิมลนำชื่อ "กนกเรขา" ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีเรื่อง "กนกนคร" ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม คือ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (น.ม.ส.) มาใช้เป็นนามปากกา
- ทมยันตี (อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี) แปลว่า "นางผู้มีความอดทนอดกลั้น" เป็นนางในวรรณคดีเรื่อง "พระนลคำหลวง" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนามปากกาที่ใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งแต่งเรื่องราวแนวจิตวิญญาณ วิมลเริ่มใช้นามปากกานี้ในการประพันธ์นวนิยายเรื่อง "รอยมลทิน" เป็นเรื่องแรก
- มายาวดี ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน ความเชื่อต่าง ๆ และเคยใช้นามปากกานี้เขียนคอลัมน์ "สนธยากาล" ลงในนิตยสารขวัญเรือน (ภายหลังนิตยสารขวัญเรือนได้เลิกกิจการ คุณหญิงวิมลได้เขียนเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นลงในเพจเฟซบุ๊กชื่อ "ล้านนาเทวาลัย"
- วิม-ลา เป็นนามปากกาล่าสุดของคุณหญิงวิมล ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน ความเชื่อต่าง ๆ ลงในเพจเฟซบุ๊กชื่อ "ล้านนาเทวาลัย" โดยเริ่มเขียนเผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
แม้ไม่ปรากฏว่างานเขียนของเธอเคยได้รับรางวัลสำคัญ แต่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเธอถือเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นจำนวนมาก เหตุผลที่ผลงานของเธอไม่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใด ๆ นั้น เป็นเพราะเธอไม่ประสงค์ให้ส่งผลงานเธอไปประกวด และปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวง
ผลงาน
ในนามปากกา "ทมยันตี"
- กฤตยา
- กษัตริยา
- แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน
- แก้วกลางดง
- คำมั่นสัญญา
- คลื่นชีวิต
- คุณหญิงนอกทำเนียบ
- คู่กรรม
- คู่กรรม 2
- จิตา
- เจ้าแม่
- จดหมายถึงลูก (ผู้) ชาย
- จิตตเทวะ
- ชามี
- ชามาช เปลวสุริยัน
- โซ่สังคม
- ฌาน
- ดาวเรือง
- ดาวนภา
- ตราบาป
- ตะวันลา
- เถ้ากุหลาบ
- ถนนสายหัวใจ
- ทิพย์
- ทวิภพ
- เทพบุตรสุดแสบ
- แนวสุดท้าย
- นางเอก
- นากพัทธ์
- นายกหญิง
- ใบไม้ที่ปลิดปลิว
- บาป
- ประกาศิตเงินตรา
- แผลหัวใจ
- เพลงชีวิต
- พิเธีย
- พี่เลี้ยง
- พิษสวาท
- พ่อไก่แจ้
- แม่ดอกสวะ
- เมียน้อย
- มงกุฎหนาม
- มณีร้าว
- มายา
- ใยเสน่หา
- ยอดอนงค์
- ร่มฉัตร
- รอยลิขิต
- รักลวง
- รักที่ต้องมนตรา
- ราชาวดี
- รอยมลทิน
- รายากุนิง
- ล่า
- เวียงกุมกาม
- วันที่รอคอย
- ไวษณวี
- ศิวาลัย
- สะพานดาว
- สองชีวิต
- สายรุ้ง
- สำรองรัก
- สตรีหมายเลขหนึ่ง
- สุริยวรรมัน
- สุดหัวใจ
- อย่าลืมฉัน
- อันธการ
- อตีตา
- อธิราชา
ในนามปากกา "โรสลาเรน"
- ค่าของคน
- เงา
- เมฆขาว
- ตราบแผ่นดินกลบหน้า
- ทางรัก
- ในฝัน
- บัลลังก์เงา
- มงกุฎกุหลาบ
- มาลาเค
- ม่านหัวใจ
- รอยอินทร์
- รอยอาลัย
- ริมหัวใจ
- สายสัมพันธ์
- สิ้นสวาท
- โสมส่องแสง
- ณ ปลายฟ้า
ในนามปากกา "ลักษณวดี"
- จักรพรรดินี
- เจ้าแห่งรัตติกาล
- ดั่งดวงหฤทัย
- ธุวตารา
- บาดาล
- เทพอวตาร
- เทวปักษี
- มงกุฎที่ไร้บัลลังก์
- มนตราแห่งดารา
- มหารานี
- รัศมีจันทร์
- ราชินีชีบา
- เลือดขัตติยา
- สายใจ
- สรวงฟ้า
- หนี้รัก
ในนามปากกา "มายาวดี"
- จดหมายจากวิญญาณ
- ชีวิตหลังความตาย
- ทิพยนิยาย
- ทิพยอาภา คัมภีร์มรณะ
- สนธยากาล (รวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับความเชื่อและวิญญาณ)
- เดจาวู
- ตระหนักรู้
ผลงานเรื่องสั้น
- ตุ๊กตายอดรัก
- กระดูกคู่
- ค่าของเงิน
- คุณหมอ
- คนชั่ว
- คนเถื่อน
- หัวใจเถื่อน
- ผสมสิบ
- ชุมทางชีวิต
- ในหนังสือ “ความหมายของชีวิต”
- ในหนังสือ "ลำนำฤดูร้อน"
- ในหนังสือ "คนใช้"
อัลบั้มภาพ 61 ภาพ