ความหมาย Kangaroo Court หรือ ศาลเถื่อน ที่แฮกเกอร์ใช้เปลี่ยนชื่อศาลรัฐธรรมนูญไทย

ความหมาย Kangaroo Court หรือ ศาลเถื่อน ที่แฮกเกอร์ใช้เปลี่ยนชื่อศาลรัฐธรรมนูญไทย

ความหมาย Kangaroo Court หรือ ศาลเถื่อน ที่แฮกเกอร์ใช้เปลี่ยนชื่อศาลรัฐธรรมนูญไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่มีการรายงานว่า เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญไทย ถูกแฮกเกอร์เข้าไปเจาะระบบ และทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ด้วยการอัปโหลดหน้าเว็บไซต์ใหม่ และ เปลี่ยนชื่อบรรยายเว็บไซต์เป็น Kangaroo Court พร้อมใส่คลิป จากเว็บไซต์ยูทูป ที่ชื่อว่า เพลง Guillotine (It goes Yah) ของ Death Grips เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์

ซึ่งในวันนี้ Sanook Campus เราจะมาทำความเข้าใจกับคำว่า Kangaroo Court ให้เพื่อนๆ เข้าใจกันซะหน่อยว่าคำที่ถูกนำมาใช้กับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญไทย มีความหมายว่าอะไร

1234

ศาลเถื่อน (Kangaroo Court หรือ Kangaroo Trial) หมายถึง ศาลที่ละเลยหรือบิดเบือนหลักการทางกฎหมายและความยุติธรรม ตุลาการของศาลเถื่อน เรียก "ตุลาการกำมะลอ" (mock justice)

คำว่า "Kangaroo Court" นั้น เชื่อได้ว่าไม่ได้มีที่มาจากประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของจิงโจ้ (Kangaroo) แต่มีการใช้ครั้งแรกสุดในการขุดทองที่แคลิฟอร์เนียเมื่อ พ.ศ. 2396 โดยครั้งนั้นเรียก "Mustang Court" หรือ "ศาลม้าเถื่อน" เพราะในเหตุการณ์ดังกล่าว ศาลได้ดำเนินกระบวนยุติธรรมไปอย่างรีบเร่งประดุจม้าเถื่อนกระโดด และต่อมาก็เปรียบกับการกระโดดของจิงโจ้

ตัวอย่างของศาลเถื่อนในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียที่สุด ได้แก่ ศาลเถื่อนของ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำทหารเผด็จการ ซึ่งโจเซฟตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูทางการเมืองของตนที่เรียกเองว่าเป็น "ศัตรูของประชาชน" เหตุการณ์นี้ได้ชื่อว่า "การกวาดล้างใหญ่" (Great Purge) และศาลประชาชนของโรลันด์ ไฟรซเลอร์ รัฐบาลนาซี ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้กำจัดศัตรูของลัทธินาซี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook