นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง

นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง

นักศึกษา มช. คว้า 2 รางวัลที่ญี่ปุ่น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเกษตรถือได้ว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งการผลิตพืชผลทางการเกษตรในปัจจุบัน ส่งผลให้มีวัสดุเหลือใช้และเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชีวมวล” ทำให้เกิดการเผาเพื่อการทำลายเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและค่าใช้จ่ายน้อย แต่การทำลายด้วยวิธีนี้ ก่อให้เกิดพิษต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะก๊าซเรือนกระจก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาต่อยอดเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนคว้า 2 รางวัล จากประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเครื่องการันตี

นายวรวุฒิ อ้ายดวง นักศึกษาปริญญาเอก จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  นำผลงานวิจัยจากการเอาวัสดุชีวมวล เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด เศษไม้ไผ่ และใบอ้อย นำมาเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าชีวมวลที่เหลือใช้ และการนำไปเผาเพื่อทำลายเศษที่เหลือจากกระบวนการผลิตทิ้ง ในผลงานวิจัยหัวข้อ “Utilization of agriculture wastes to produce an environmental friendly material from mushroom mycelium” โดยการนำชีวมวล มาเป็นวัสดุตั้งต้นในการผลิตวัสดุไบโอคอมโพสิตเส้นใยเห็ด (mycelium-biocomposite material) ที่สามารถย่อยสลายได้ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมคว้า 2 รางวัล ด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่

  • รางวัล Excellent Presenter in the Poster Session (Microbiology) Award of the Sakura Science Program 2021 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564
  • รางวัล Best Speaker Award in Young Scientist Seminar (18th YSS, 2021), Yamaguchi University เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564

จากงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถต่อยอดพัฒนาในอนาคตได้อีกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเป็นวัสดุเชิงโครงสร้าง อาทิ แผ่นผนัง หลังคา วัสดุมวลเบา และยังสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่ใช้แล้วทิ้งได้ หรือเป็นวัสดุทดแทนพลาสติก ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมที่จะผลักดันพัฒนาผลงานวิจัยต่างๆ ให้ตรงตามหลักของ BCG Economy หรือ การพัฒนาเศษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนส่งเสริมทักษะด้านงานการค้นคว้าวิจัยให้แก่นักศึกษาได้มีผลงานวิจัยและมีนวัตกรรมที่สามารถเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook