กสศ. เผยจำนวน นักเรียนยากจนพิเศษ พุ่งสูงถึง 1.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 61
เรียกว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นในทุกปีอย่างน่าตกใจเลยทีเดียว สำหรับ นักเรียนยากจนพิเศษ ในประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบตัวนักเรียน ที่อาจจะทำให้เด็กๆ หลุดออกจากระบบการศึกษาได้ และนอกจากนั้นจำนวน นักเรียนยากจนพิเศษ ในปี 2564 นั้นเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปี 2561 เลยด้วย
การจัดอันดับ เกณฑ์ความจน ของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.
- นักเรียนยากจน คือ อยู่ในครัวเรือนที่สมาชิกมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือ 3,000 บาท/คน/เดือน ดังนั้น แม้ค่าเรียนจะฟรีแต่ค่าอื่นๆ อีกจิปาถะ จะทำให้ครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานสูงถึง 22% ของรายได้ หรือเกือบ 1 ใน 4
- นักเรียนยากจนพิเศษ คือ อยู่ในครัวเรือนที่สมาชิกมีรายได้เฉลี่ย 1,332 บาท/คน/เดือน ขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา (ไม่รวมค่าเดินทาง) ของนักเรียนไทยอยู่ที่ 1,195-4,829 บาทต่อหัวต่อเทอม
โดยเกณฑ์ ได้นำข้อมูลของนักเรียนทั้งหมดไปจำแนกตามค่าน้ำหนักตัวแทนรายได้ (PMT) ในแต่ละภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้ประเภทของนักเรียนเป็นไม่จน ยากจน และยากจนพิเศษ ซึ่งนอกจากจะจำแนกตามค่าน้ำหนักตัวแทนรายได้ (PMT) แล้ว ยังสามารถนำมาจำแนกประเภทของนักเรียนออกเป็นนักเรียนยากจนที่ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนของ สพฐ. และนักเรียนยากจนที่ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ตัวแทนรายได้ (PMT) โดยนักเรียนเหล่านี้ล้วนแต่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ได้อีกด้วย
จำนวนตัวเลขของ นักเรียนยากจนพิเศษ ที่เพิ่มขึ้นทุกเทอมและทุกปีจาก เกณฑ์ความจนของ กสศ.
- ปีการศึกษา 1/2561 มีอยู่ 620,937 คน
- ปีการศึกษา 2/2561 มีอยู่ 510,083 คน
- ปีการศึกษา 1/2562 มีอยู่ 711,536 คน
- ปีการศึกษา 2/2562 มีอยู่ 761,729 คน
- ปีการศึกษา 1/2563 มีอยู่ 994,428 คน
- ปีการศึกษา 2/2563 มีอยู่ 1,174,444 คน
- ปีการศึกษา 1/2564 มีอยู่ 1,244,591 คน
อัลบั้มภาพ 5 ภาพ